วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 07, 2564

Pai

 
อนุปัญญัติวาร
[กำหนดสัตว์ที่เป็นวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น]
ในวาระแห่งอนุบัญญัติ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า อนฺตมโส แปลว่า โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุดทั้งหมด.
บทว่า ติรจฺฉานคตายปิ ความว่า ในประชาสัตว์ผู้ไปอาทิผิด แล้ว (คือ
ผู้เกิดแล้ว) ในเหล่าสัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
สองบทว่า ปเคว มนุสฺสิตฺถิยา ความว่า (ภิกษุเสพเมถุนธรรม)
ในหญิงผู้เป็นชาติมนุษย์ก่อนกว่า. ก็สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ซึ่งเป็นวัตถุแห่ง
ปาราชิกนั่นแล ควรถือเอาว่า สัตว์ดิรัจฉาน ในปฐมปาราชิกนี้ ไม่ใช่สัตว์
ดิรัจฉานตัวเมียทั้งหมด (สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ไม่ใช่วัตถุแห่งปาราชิกทั้งหมด).
ในคำว่า สัตว์ดิรัจฉาน นั้น มีกำหนด (ประเภทสัตว์) ดังนี้
บรรดาพวกสัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู
และปลา, และบรรดาพวกสัตว์มีสองเท้า
ได้แก่ แม่ไก่, บรรดาพวกสัตว์มีสี่เท้า ได้แก่
แมวตัวเมีย, สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเหล่านี้
เป็นวัตถุแห่งปาราชิก.
[อรรถาธิบายประเภทสัตว์ต่าง ๆ ]
บรรดาสัตว์มีงูเป็นต้นนั้น ทีฆชาติต่างโดยประเภท มีงูเหลือมและงู
ขว้างค้อนเป็นต้นแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าด้วย อหิ ศัพท์. เพราะฉะนั้น
บรรดาทีฆชาติทั้งหลาย ทีฆชาติที่ภิกษุอาจสอดองคชาตเข้าไปในบรรดามรรค
 
๑/๗๘/๘๑๖

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก