วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 28, 2564

Songsan

 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต บทว่า ยทิทํ นั้น
มีอรรถว่า โย อยํ. ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้ ชื่อว่า อวิชชา เพราะประสบสิ่งที่ไม่ควรประสบมีกายทุจริต
เป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะไม่ประสบสิ่งที่ควรประสบมีกายสุจริต
เป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะกระทำสภาวะแห่งธรรมที่ไม่วิปริต ไม่ให้
รู้แจ้ง, ชื่อว่า อวิชชา เพราะยังสัตว์ให้แล่นไปในภพเป็นต้น ในสงสารอัน
เว้นจากที่สุด. ชื่อว่า อวิชชา เพราะแล่นไปในสิ่งที่ไม่มี ไม่แล่นไปในสิ่งที่
มี. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะเป็นปฏิปักษ์ ต่อ วิชชา. อวิชชานั้น
พึงทราบว่ามี ๔ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ทุกฺเข อญาณํ ความไม่รู้ทุกข์.
ชื่อว่า ปัจจัย เพราะอาศัยไป คือเกิดขึ้นและเป็นไปไม่ละเว้นผล. อีก
อย่างหนึ่ง ธรรมที่มีการสนับสนุนเป็นอรรถ ชื่อว่า ปัจจัย. อวิชชานั้นด้วย
เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะมี
อวิชชาเป็นปัจจัยนั้น. ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงแต่ง. ได้แก่กุศลเจตนา
และอกุศลเจตนาฝ่ายโลกิยะ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนานั้น พึงทราบว่ามี
๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร ๑ อปุญญาภิสังขาร ๑ อาเนญชาภิสังขาร ๑.
ชื่อว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง. วิญญาณนั้นมี ๓๒ (หรืออเหตุกวิบาก ๑๕
มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบาก ๙) ด้วยอำนาจวิบากวิญญาณฝ่ายโลกิยะ.
ชื่อว่า นาม เพราะน้อมไป ได้แก่นามขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น. ชื่อว่า
รูป เพราะอรรถว่าสลายไป ได้แก่ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ มี
จักขุปสาทรูปเป็นต้น. ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่ต่อ และนำสัตว์ไป
สู่สงสารอาทิผิด อาณัติกะทุกข์. ชื่อว่า ผัสสะ เพราะถูกต้อง. ชื่อว่า เวทนา เพราะเสวย
(อารมณ์). แม้ทั้งสองนั้น ว่าโดยทวารมี ๖ ว่าโดยวิบากมี ๓๖. ชื่อว่า
 
๔๔/๓๘/๖๕

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก