วันจันทร์, มีนาคม 31, 2568

Khao Thueng

 
ของควรแก่อภินิหาร เพื่อการทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมทั้งหลายที่ควร
ทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
แม้อีกนัยหนึ่ง เมื่อจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิในจตุตถฌาน ชื่อว่าเป็น
จิตบริสุทธิ์ เพราะเป็นจิตไกลจากนิวรณ์, ชื่อว่าผุดผ่อง เพราะก้าวล่วงองค์ฌาน
มีวิตกเป็นต้น, ชื่อว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน เพราะไม่มีความประพฤติต่ำ
ด้วยความปรารถนาอันลามก ซึ่งเป็นข้าศึกต่อการกลับได้ฌาน, อธิบายว่า
ชื่อว่าไม่มีปัจจัยแห่งกามราคะมีประการต่าง ๆ อันหยั่งลงแล้ว คือเป็นไปแล้ว
ด้วยอำนาจความปรารถนา. ชื่อว่า มีอุปกิเลสปราศไปแล้ว เพราะความ
ปราศไปแห่งความเศร้าหมองของจิต มีอภิชฌาเป็นต้น. ก็แม้ธรรมทั้ง ๒
(คือความไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน และมีกิเลสปราศไป) นั้น บัณฑิตพึงทราบ
ตามแนวแห่งอนังคณสูตรและวัตถุสูตร๒.
ชื่อว่า เป็นจิตอ่อน เพราะถึงความชำนาญ. ชื่อว่า ควรแก่การงาน
เพราะเข้าถึงความเป็นบาทแห่งฤทธิ์. ชื่อว่า ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
เพราะเข้าอาทิผิด สระถึงความเป็นธรรมชาติประณีต ด้วยความเต็มบริบูรณ์แห่งภาวนา,
อธิบายว่า จิตย่อมถึงความไม่หวั่นไหว ฉันใด, ตั้งมั่นแล้ว ฉันนั้น. จิตที่
ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ แม้ดังพรรณนามาแล้วนี้ ย่อมเป็นของควรแก่
อภินิหาร เป็นบาท เป็นปทัฏฐาน แห่งการทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรม
ทั้งหลายที่ควรทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ด้วยประการฉะนี้.
๑. วิสุทธิมรรค. ๒ / ๒๐๓ เป็น ฌานปฏิลาภปจฺจนีกานํ เห็นว่าถูก จึงแปลตามนั้น.
๒. ม. มู. ๑๒ / ๔๒-๖๔.
 
๑/๙/๒๘๑

วันอาทิตย์, มีนาคม 30, 2568

Satthakam

 
๕๓. เรื่องทาของหอม ๕๔. เรื่องดื่มยาถ่าย ๕๕. เรื่องน้ำข้าวใส ๕๖. เรื่อง
น้ำถั่วเขียวต้มที่ไม่ข้น ๕๗. เรื่องน้ำถั่วเขียวที่ข้นนิดหน่อย ๕๘. เรื่องน้ำต้ม
เนื้อ ๕๙. เรื่องชำระเงื้อมเขา และพระราชทานคนทำการวัด ๖๐. เรื่อง
ฉันเภสัชที่เก็บไว้ ๗ วัน ๖๑. เรื่องน้ำอาทิผิด สระอ้อย ๖๒. เรื่องถั่วเขียว ๖๓. เรื่อง
ยาดองโลณโสจิรกะ ๖๔. เรื่องอามิสที่หุงต้มเอง ๖๕. เรื่องภัตตาหารที่ต้อง
อุ่น ๖๖. เรื่องให้เก็บที่หุงต้มอามิสในภายในและหุงต้มเอง เมื่อคราวอัตคัด
อาหารต่อไปอีก ๖๗. เรื่องรับประเคนผลไม้ที่เป็นอุคคหิตได้ ๖๘. เรื่อง
ถวายงา ๖๙. เรื่องของขบฉันที่รับประเคนไว้ตอนเช้า ๗๐. เรื่องเป็นไข้
ตัวร้อน ๗๑. เรื่องฉัน ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออก ๗๒. เรื่องริดสีดวงทวาร
๗๓. เรื่องสัตถกรรมอาทิผิด อักขระและวัตถิกรรม ๗๔. เรื่องอุบาสิกาสุปปิยา ๗๕. เรื่อง
ทรงห้ามฉันเนื้อมนุษย์ ๗๖. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อช้าง ๗๗. เรื่องทรงห้าม
ฉันเนื้อม้า ๗๘. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อสุนัข ๗๙. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้องู
๘๐. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อราชสีห์ ๘๑. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
๘๒. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง ๘๓. เรื่องทรงห้ามฉันเนื้อหมี ๘๔. เรื่อง
ทรงห้ามฉันเนื้อเสือดาว ๘๕. เรื่องคอยโอกาสถวายภัตร และข้าวยาคู
๘๖. เรื่องมหาอำมาตย์เริ่มเลื่อมใส เป็นต้น เหตุให้ทรงห้ามภิกษุรับนิมนต์ไว้
แห่งหนึ่งแล้วไปฉันในที่อื่น ๘๗. เรื่องถวายงา น้ำอ้อย ๘๘. เรื่องทรงรับ
อาคารพักแรม ๘๙. เรื่องมหาอำมาตย์สุนีธะและวัสสการะ ๙๐. เรื่องแม่น้ำ
คงคา ๙๑. เรื่องเสด็จตำบลบ้านโกฏิ ทรงแสดงอริยสัจจกถา ๙๒. เรื่อง
นางอัมพปาลีคณิกา ๙๓. เรื่องเจ้าลิจฉวี ๙๔. เรื่องอุทิสมังสะ ๙๕. เรื่อง
พระนครเวสาลีหาอาหารได้ง่าย ๙๖. เรื่องทรงห้ามอามิสที่เป็นอันโตวุตถะ
เป็นต้นใหม่ ๙๗. เรื่องฝนตั้งอาทิผิด อักขระเค้า ๙๘. เรื่องพระยโสชะอาพาธ ๙๙. เรื่อง
 
๗/๙๔/๑๖๔

วันเสาร์, มีนาคม 29, 2568

Rao Ron

 
ต้นมะม่วงนั้นสมบูรณ์ด้วยช่อและผล ได้ทรงไว้ซึ่งพวงแห่งมะม่วงสุกในที่
แห่งหนึ่ง ในขณะนั้นนั่นเอง.
พวกภิกษุผู้มาข้างหลัง มาขบฉันผลมะม่วงสุกเหมือนกัน.
พระราชาทรงสดับว่า “ ข่าวว่า ต้นมะม่วงเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว ”
จึงทรงตั้งอารักขาไว้ด้วยพระดำรัสว่า “ ใคร ๆ อย่าตัดต้นมะม่วงนั้น.”
ก็ต้นมะม่วงนั้น ปรากฏชื่อว่า “ คัณฑามพพฤกษ์ ” เพราะความที่นาย
คัณฑะปลูกไว้. แม้พวกนักเลงเคี้ยวกินผลมะม่วงสุกแล้วพูดว่า “ เจ้าพวก
เดียรถีย์ถ่อยเว้ย พวกเจ้ารู้ว่า ‘พระสมณโคดมจักทรงทำปาฏิหาริย์ที่โคน
ต้นคัณฑามพพฤกษ์ จึงสั่งให้ถอนต้นมะม่วงเล็ก ๆ แม้ที่เกิดในวันนั้นใน
ร่วมในที่โยชน์หนึ่ง, ต้นมะม่วงนี้ ชื่อว่าคัณฑามพะ ’ แล้วเอาเมล็ด
มะม่วงที่เป็นเดนประหารพวกเดียรถีย์เหล่านั้น.
ท้าวสักกะทำลายพิธีของพวกเดียรถีย์
ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับวาตวลาหกเทวบุตรว่า ” ท่านจงถอนมณฑป
ของพวกเดียรถีย์เสียด้วยลม แล้วให้ลม (หอบไป) ทิ้งเสียบนแผ่นดินที่ทิ้ง
หยากเยื่อ. เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะสั่งบังคับ
สุริยเทวบุตรว่า “ ท่านจงขยายมณฑลพระอาทิตย์ ยัง (พวกเดียรถีย์) ให้
เร่าร้อนอาทิผิด อาณัติกะ. ” แม้เทวบุตรนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะทรงสั่ง
บังคับวาตวลาหกเทวบุตรอีกว่า “ ท่านจงยังมณฑลแห่งลม (ลมหัวด้วน)
ให้ตั้งขึ้นไปเถิด. ” เทวบุตรนั้นทำอยู่เหมือนอย่างนั้น โปรยเกลียวธุลีลง
ที่สรีระของพวกเดียรถีย์ที่มีเหงื่อไหล. พวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้เป็นเช่นกับ
จอมปลวกแดง. ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับแม้วัสสวลาหกเทวบุตรว่า “ ท่าน
จงให้หยาดน้ำเมล็ดใหญ่ ๆ ตก. ” เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว.
 
๔๒/๒๔/๒๙๗

วันศุกร์, มีนาคม 28, 2568

Koet

 
สูตรทั้งสิ้นนั้น คือที่จะพึงตรัสในบัดนี้.
ก็นิทานพจน์ใด ที่ประดับประดาด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่องราว
บริษัท และประเทศ เหมือนท่าน้ำอันมีภูมิภาคขาวสะอาดเดียรดาษด้วยเมล็ด
ทรายคล้ายสุธาดลอันเกลื่อนกล่นไปด้วยแก้วมุกดา มีบันไดอันพิลาสรจนา
ด้วยแผ่นศิลาที่ขัดไว้จนไร้ราคี เพื่อง่ายต่อการลงสู่สระโบกขรณีที่สล้างไป
ด้วยดอกบัวเขียว มีน้ำใสสะอาดรสจืดสนิท เหมือนบันไดอันมีชั้นละเอียด
อ่อนสำเร็จด้วยงาช้าง งามรุ่งเรืองเกิดอาทิผิด อักขระแต่รัศมีของพวงแก้วมณีที่ร้อยด้วย
ลวดทองคำ เพื่อสะดวกต่อการก้าวขึ้นสู่พระมหาปราสาท มีฝาจัดได้
สมส่วน แลกั้นด้วยไพทีอันวิจิตรที่มีองค์ ( ดูเสมือน) จะเคลื่อนไหว
ได้ เสมือนมีประสงค์จะให้สูงเสียดทางเดินของดวงดาว เหมือนมหาทวาร
ที่มีบานกว้างใหญ่อันติดตั้งไว้ดีแล้ว เพริศแพร้วเรืองรองด้วยทองเงิน
มณี มุกดา และแก้วประพาฬเป็นอาทิ เพื่อสะดวกต่อการเข้าไปสู่คฤหาสน์
อัน โสภิตไปด้วยอิสสริยสมบัติ อัน โอฬาร เป็นสถานขวักไขว่ ไปด้วยผู้คนที่
พูดจาหัวเราะขัยเสียงอันไพเราะประสานกับเสียงกระทบของกำไลทองที่
คล้องไว้เป็นระเบียบ อันพระอานนทเถระเจ้ากล่าวไว้แล้ว การพรรณนา
ความแห่งนิทานพจน์นั้น เป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
เหตุเกิดพระสูตร ๔ อย่าง
บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า สพฺพธมฺมมูลปริยายํ ดังนี้. ก็การ
พรรณนาพระสูตรนี้ เพราะเมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดง
แล้ว จึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรงยก
 
๑๗/๙/๔๓

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 27, 2568

Ratchakhrue

 
ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัว
แสนกษาปณ์. ได้ให้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์.

เรื่องบุตรเศรษฐีป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้
[๑๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีผู้เล่นกีฬา
หกคะเมน ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวย
ที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรค
นั้นเธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่ง
ด้วยเอ็น ครั้งนั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีได้มีความปริวิตกดังนี้ว่าบุตรของ
เราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่
ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง
มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็นเพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เรา
พึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้
รักษาบุตรของเรา ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครพาราณสีไปพระนครราชคฤห์อาทิผิด อักขระ
แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ.
บุตรของข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่
เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม
เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น
ขอพระราชทานพระราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระราชโอง
การสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า.
ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช ได้ทรงมีพระราช
ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ว่า ไปเถิด พ่อชีวก เจ้าจงไปพระนครพาราณสี
แล้วรักษาบุตรของเศรษฐีชาวกรุงพาราณสี.
 
๗/๑๓๓/๒๕๓

วันพุธ, มีนาคม 26, 2568

Winyan

 
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักษุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณอาทิผิด อักขระ.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่สารัมมณขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของปุเร-
ชาตปัจจัย.

๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย
[๒๖] ๑. สารัมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่อนารัมมณธรรม
ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๒. อาเสวนปัจจัย
[๒๗] ๑. สารัมมมณธรรม เป็นปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย มี ๑ วาระ.

๑๓.กัมมปัจจัย
[๒๘] ๑. สารัมมณปัจจัยแก่สารัมมณธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย
 
๘๙/๒๕/๒๕

วันอังคาร, มีนาคม 25, 2568

Patchantaprathet

 
กว่าอาหารของพวกช้าง. ได้ยินว่า พวกโคป่ากวาง และเนื้อเหล่านั้นเคี้ยวกิน
ใบไม้ต่าง ๆ เป็นต้นที่ไม่แข็ง อาหารพวกโคบ้านละเอียดกว่าอาหารของ
สัตว์มีโคป่าเป็นต้นแม้เหล่านั้น พวกโคบ้านย่อมเคี้ยวกินหญ้าสดและหญ้าแห้ง
อาหารของพวกกระต่ายละเอียดกว่าอาหารของพวกโคเหล่านั้น อาหารของพวก
นกละเอียดกว่าอาหารของพวกกระต่าย อาหารของพวกชนผู้อยู่ปัจจันตประเทศ
ละเอียดกว่าอาหารของพวกนก อาหารของพวกผู้กินบ้าน (ผู้ใหญ่ในบ้าน)
ละเอียดกว่าอาหารของพวกปัจจันตอาทิผิด สระประเทศ อาหารของพระราชาและราชมหา-
อำมาตย์ละเอียดกว่าอาหารของพวกผู้กินบ้าน อาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ
ละเอียดกว่าอาหารของพระราชาและมหาอำมาตย์แม้เหล่านั้น อาหารของพวก
ภุมเทวดาละเอียดกว่าอาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ อาหารของพวกจาตุมมหา-
ราชิกาละเอียดกว่าอาหารของพวกภุมเทวดา. ด้วยอาการอย่างนี้ พึงให้พิสดาร
ไปจนถึงอาหารของพวกเทพปรนิมมิตวสวัตดี ก็อาหารของเทพปรนิมมิตวสวัตดี
เหล่านั้นถึงการสิ้นสุดแล้วว่า ละเอียดที่สุด.

ว่าด้วยลักขณาทิจตุกะ
โอชากฺขโณ กพฬึกาโร อาหาโร กพฬิงการาหารอันบัณฑิตพึง
ทราบว่า มีโอชาเป็นลักษณะ รูปาหรณรโสอาทิผิด สระ มีการนำมาซึ่งรูปเป็นรส อุปตฺ-
ถมฺภนปจฺจุปฏฺฐาโน มีการอุปถัมภ์เป็นปัจจุปัฏฐาน กพฬํ กตฺวา อา-
หริตพฺพวตฺถุปทฏฺฐาโน มีวัตถุที่บุคคลทำเป็นคำข้าวแล้วกลืนกิน
เป็นปทัฏฐาน.
 
๗๖/๕๓๘/๒๖๑

วันจันทร์, มีนาคม 24, 2568

Sawok

 
เกิดความรำพึงในใจว่า ชั้นสุทธาวาสซึ่งเรามิได้เคยอยู่เลย โดยเวลาอันยืดยาว
นานนี้ นอกจากเทวดาเหล่าสุทธาวาสแล้ว ไม่ใช่โอกาสที่ใคร ๆ จะได้โดยง่าย
ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาเทวดาเหล่าสุทธาวาสจนถึงที่อยู่ ภิกษุทั้งหลาย ทันใด
นั้น เราได้หายไปที่ควงไม้พญาสาลพฤกษ์ ในป่าสุภวันใกล้อุกกัฏฐนคร ไป
ปรากฏในพวกเทวดาเหล่าอวิหา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่ง
แขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่เทพดานั้นแล เทพดานับร้อยนับพันเป็นอัน
มาก ได้เข้ามาหาเราครั้นเข้ามาหา ไหว้เราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นเทพดาเหล่านั้นยืนอาทิผิด เรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี
เสด็จอุบัติในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม
พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เสด็จอุบัติในขัตติยสกุล
เป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร มีพระชนมายุประมาณแปดหมื่นปี พระองค์ได้
ตรัสรู้ที่ควงไม้แคฝอย มีคู่พระสาวกชื่อว่าพระขัณฑเถระ และพระติสสเถระ
ซึ่งเป็นคู่อันเจริญ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การประชุมกันแห่งพระสาวกของ
พระผู้มีภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้มีแล้วสามครั้ง ครั้ง
หนึ่ง มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนภิกษุหกล้านแปดแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง
มีพระสาวกประชุมกันเป็นจำนวนแสนรูป อีกครั้งหนึ่ง มีพระสาวกประชุม
กันเป็นจำนวนแปดหมื่นรูป พระสาวกอาทิผิด สระของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีที่ ได้ประชุมกันทั้งสามครั้งนี้ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ
ทั้งสิ้น ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ภิกษุผู้อุปัฏฐากชื่ออโสกะ ได้เป็นอัครอุปัฏ-
ฐากของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พระราชา
พระนามว่า พันธุม เป็นพระชนก พระเทวีพระนามว่า พันธุมดี เป็นพระชนนี
 
๑๓/๕๕/๕๖

วันอาทิตย์, มีนาคม 23, 2568

Nan

 
จงพิจารณาดูนกกะเรียนนี้ (ว่า) มันตายแล้วหรือยัง ?” ลำดับนั้น นาย
ช่างแก้วจึงกล่าวกะท่านว่า “แม้ท่านก็จักตายเช่นนกนั่น.”
พระเถระตอบว่า “อุบาสก แก้วมณีนั้น อันนกนี้กลืนกินแล้ว.
หากนกนี้จักไม่ตายไซร้, ข้าพเจ้าแม้จะตาย ก็จักไม่บอกแก้วมณีแก่ท่าน.”
ช่างแก้วได้แก้วมณีคืนแล้วขอขมาพระติสสเถระ
เขาแหวะท้องนกนั้นพบแก้วมณีแล้ว งกงันอยู่ มีใจสลด หมอบลง
ใกล้เท้าของพระเถระ กล่าวว่า “ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอดโทษแก่ผม, ผม
ไม่รู้อยู่ ทำไปแล้ว.”
พระเถระ. อุบาสก โทษของท่านไม่มี. ของเราก็ไม่มี มีแต่โทษ
ของวัฏฏะเท่านั้น. เราอดโทษแก่ท่าน.
นายมณีการ. ท่านขอรับ หากท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ท่านจงนั่ง
รับภิกษาในเรือนของผมตามทำนองเถิด.
พระเถระเห็นโทษของการเข้าชายคาเรือน
พระเถระกล่าวว่า “ อุบาสก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่เข้า
ไปภายในชายคาเรือนของผู้อื่น เพราะว่านี้เป็นโทษแห่งการเข้าไปภายใน
เรือนโดยตรง. ตั้งแต่นี้ไป เมื่อเท้าทั้งสองยังเดินไปได้ เราจักยืนที่ประตู
เรือนเท่านั้น รับภิกษา ” ดังนี้แล้ว สมาทานธุดงค์กล่าวคาถานี้ว่า
“ ภัตในทุกสกุล ๆ ละนิดหน่อย อันเขาหุงไว้
เพื่อมุนี เราจักเที่ยวไปด้วยปลีแข้ง, กำลังแข้งของ
เรายังมีอยู่. ”
ก็แล พระเถระ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ต่อกาลไม่นานอาทิผิด อักขระนักก็ปรินิพพาน
ด้วยพยาธินั้นนั่นเอง.
 
๔๒/๑๙/๕๒

วันเสาร์, มีนาคม 22, 2568

Rot

 
[๒๘๐] กามคุณ ๕
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร น่าชอบ
ใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู.
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก.
๔. รสที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยลิ้น.อาทิผิด
๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
[๒๘๑] คติ ๕
๑. นิรยะ นรก
๒. ติรัจฉายโยนิ กำเนิดเดียรฉาน
๓. เปตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
๔. มนุสสะ มนุษย์
๕. เทวะ เทวดา.
[๒๘๒] มัจฉริยะ ๕
๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่
๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล
๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ
๔. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม.
[๒๘๓] นิวรณ์ ๕
๑. กามฉันทะ ความพอใจ
๒. พยาบาท ความพยาบาท
 
๑๖/๒๘๐/๒๐๐

วันศุกร์, มีนาคม 21, 2568

Kharawat

 
จะบรรพชาได้ ขอท่านจงโปรดให้โอวาทแก่ข้าพเจ้าผู้ดำรงอยู่ในฆราวาสอาทิผิด สระวิสัยนี้.
เท่านั้นเถิด. บทว่า อนุสาสเร แปลว่า ย่อมพร่ำสอน.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะพระเจ้าสัมภูตราชนั้นว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ผู้จอมนรชน ถ้ามหาบพิตร
ไม่สามารถละกามของมนุษย์เหล่านี้ได้ไซร้ มหา-
บพิตรจงทรงเริ่มตั้งพลีกรรมอันชอบธรรมเถิด แต่การ
กระทำอันไม่เป็นธรรมขออย่าได้มีในรัฐสีมาของมหา-
บพิตรเลย ทูตทั้งหลายจงไปยังทิศทั้ง ๔ นิมนต์สมณะ
พราหมณ์ทั้งหลายมา มหาบพิตรจงทรงบำรุงสมณะ
พราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าว น้ำ ผ้า เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัย มหาบพิตรจงเป็นผู้มีกมลจิตอันผ่องใส
ทรงอังคาสสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ
ได้ทรงบริจาคทานตามสติกำลัง และทรงเสวยแล้ว
เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไม่ติเตียน จงเสด็จ
เข้าถึงสวรรคสถานเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ก็ถ้าความ
เมาจะพึงครอบงำมหาบพิตรผู้อันหมู่นารีทั้งหลายแวด-
ล้อมอยู่ มหาบพิตรจงทรงมนสิการคาถานี้ไว้ แล้วพึง
ตรัสคาถานี้ในท่ามกลางบริษัทว่า เมื่อชาติก่อนเราเป็น
คนนอนอยู่กลางแจ้ง อันมารดาจัณฑาลเมื่อจะไปป่า
ให้ดื่มน้ำนม มาแล้ว นอนคลุกคลีอยู่กับสุนัขทั้งหลาย
จนเติบโต มาบัดนี้ คนนั้นใคร ๆ เขาก็เรียกกันว่า
พระราชา.
 
๖๑/๒๐๖๕/๕๓

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 20, 2568

Tang Yu

 
ในคำว่า น โข ปเนตํ ปฏิรูปํ เป็นต้น มีการพรรณนาโดยสังเขป
ดังต่อไปนี้
ได้ยินว่า ในป่าหิมพานต์ มีการประชุมเทวดา ทุก ๆ วันปักษ์, ใน
ป่าหิมพานต์นั้น พวกเทวดาย่อมถามถึงรุกขธรรมว่า ท่านตั้งอาทิผิด อักขระอยู่หรือไม่ได้ตั้ง
อยู่ในรุกขธรรม. ชื่อว่า รุกขธรรม ได้แก่ การที่รุกขเทวดาไม่ทำความ
ประทุษร้ายทางใจ ในเมื่อต้นไม้ถูกตัด. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดาองค์ใด
ไม่ตั้งอาทิผิด อักขระอยู่ในรุกขธรรม, เทวดาองค์นั้น ย่อมไม่ได้เพื่อจะเข้าสู่ที่ประชุม. เทวดา
องค์นั้น ได้มองเห็นโทษ มีการไม่ตั้งอยู่ในรุกขธรรมเป็นปัจจัยนี้ ด้วยประการ
ดังนี้ และระลึกถึงบุรพจรรยา ในปางที่พระตถาคตเจ้าเสวยพระชาติเป็น
พญาช้างฉัททันต์เป็นต้น โดยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาที่ตนอาทิผิด อักขระเคยสดับมา
เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุนั้น เทวดานั้น จึงได้มี
ความรำพึง น โข ปเนตํ ปฏิรูปํ ฯเปฯ ชีวิตา โวราเปยฺยุํ (ก็การ
ที่เราจะปลงชีวิตภิกษุรูปนี้เสีย ณ ที่นี้ นั่นไม่สมควรเลย) ดังนี้. ก็ความรำพึง
นี้ว่า ถ้ากระไร เราควรกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ได้มีแก่
เทวดานั้น ผู้ฉุกคิดอยู่อย่างนี้ว่า ภิกษุนี้เป็นบุตรมีบิดา, พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทรงสดับอัชฌาจารนี้ของภิกษุนี้แล้ว จักทรงป้องกันมารยาท จักทรงบัญญัติ
สิกขาบทแน่นอน.
คำว่า สจชฺช ตฺวํ เทวเต มีความว่า ดูก่อนเทวดา ! ถ้าท่าน
(ปลงชีวิตภิกษุรูปนั้น) ในวันนี้ไซร้.
บทว่า ปสเวยฺยาสิ แปลว่า พึงให้เกิด คือ พึงให้บังเกิดขึ้น. ก็แล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะให้เทวดานั้นยินยอม จึงได้
ตรัสพระคาถานี้ว่า
 
๔/๓๕๗/๒๗๐

วันพุธ, มีนาคม 19, 2568

Samkhan

 
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งกายนั้นของภิกษุ ด้วยของที่
โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งกายนั้น ของภิกษุ ด้วยของ
ที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่
ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อของเนื่องด้วยกาย
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
ถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้น ของภิกษุ ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมี
ความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรี ๒ คน ภิกษุมีความสำคัญว่าเป็นสตรีทั้งสองคน มีความ
กำหนัด และสตรีทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของภิกษุ
ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย รู้ตอบ
ผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรีหนึ่ง บัณเฑาะก์หนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญอาทิผิด อักขระว่าเป็นสตรีทั้งสองคน
มีความกำหนัด และทั้งสองคน ถูก ต้อง ซึ่งของเนื่องด้วยกายนั้นของ
ภิกษุ ด้วยของที่โยนไป ภิกษุมีความประสงค์จะเสพ พยายามด้วยกาย
รู้ตอบผัสสะอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
สตรี-ของที่โยนต่อของที่โยน
สตรีหนึ่ง ภิกษุมีความสำคัญ ว่าเป็นสตรี มีความกำหนัด และสตรี
 
๓/๓๘๔/๑๔๘

วันอังคาร, มีนาคม 18, 2568

Utthayan

 
[พระราชาถวายอุทยานสร้างวัด]
เมื่อพระเถระสัมโมทนากับพวกกุลสตรี กุลสุณหา กุลกุมารี
ผู้มาแล้วและมาแล้ว ในอุทยานนันทวันนั่นแล เวลาก็ตกเย็น. พระเถระ
สังเกตเวลาแล้วลุกขึ้นพลางพูดว่า ได้เวลา พวกเราจะไปยังเขามิสสกบรรพต.
พวกอำมาตย์เรียนถามว่า พวกท่านจะไปไหนกันขอรับ ? พระเถระกล่าวว่า
จะไปยังที่พักของพวกเรา. อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ
แล้วกราบเรียนตามพระบรมราชานุมัติว่า ท่านผู้เจริญ ! เวลานี้ ไม่ใช่เวลาที่
จะไปในที่นั้น อุทยานนันทวันนี้แหละ จงเป็นที่พักของพระผู้เป็นเจ้า. พระเถระ
กล่าวว่า อย่าเลย พวกอาตมาจะไป. พวกอำมาตย์กราบเรียนตามพระราชดำรัส
อีกว่า ท่านขอรับ ! พระราชาตรัสว่า อุทยานชื่อเมฆวันนี้ เป็นของพระชนกเรา
อยู่ไม่ไกลไม่ใกล้นัก จากพระนครสมบูรณ์ด้วยทางไปมา ขอพระเถระเจ้าทั้งหลาย
โปรดสำเร็จการอยู่ในอุทยานอาทิผิด อักขระเมฆวันนี้. พระเถระทั้งหลาย จึงพักอยู่ที่อุทยาน
เมฆวัน. ฝ่ายพระราชาแล ได้เสด็จไปยังสำนักของพระเถระ ต่อเมื่อราตรีนั้น
ล่วงไป ได้ตรัสถามถึงการจำวัดสบายแล้ว ตรัสถามต่อไปว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
อารามนี้ สมควรแก่พระภิกษุสงฆ์หรือ ? พระเถระถวายพระพรว่า สมควร
มหาบพิตร ! แล้วจึงนำพระสูตรนี้มาว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อารามํ
ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตอาราม ดังนี้เป็นต้น. พระราชาทรงพอพระทัย
ทรงจับอาทิผิด อักขระพระสุวรรณภิงคาร (พระเต้าทอง) ให้น้ำตกไปที่มือของพระเถระ ได้
ถวายอุทยานมหาเมฆวัน พร้อมกับอาทิผิด อักขระน้ำตก แผ่นดินก็หวั่นไหว. นี่ เป็นการ
ไหวแห่งแผ่นดินคราวแรกในมหาวิหาร. พระราชาทรงตกพระทัยแล้ว จึงตรัส
ถามพระเถระว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ! เพราะเหตุไร แผ่นดินจึงไหว.
พระเถระทูลถวายพระพรว่า มหาบพิตร ! อย่าอาทิผิด อักขระตกพระทัยเลย ศาสนาของ
 
๑/๙/๑๓๙

วันจันทร์, มีนาคม 17, 2568

Ratana

 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสี แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพง
แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง แม้เก่าแล้วก็สีงาม
สัมผัสนิ่มและราคาแพง ผ้ากาสี ถึงคร่ำคร่าแล้ว เขายังใช้เป็นผ้าห่อรตนะอาทิผิด อักขระ (คือ
เงินทองเพชรพลอยอาทิผิด อักขระย่อมมีค่า) บ้าง เก็บไว้ในคันธกรณฑ์ (หีบอบของหอม)
บ้าง ฉันใด.
ฉะนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้
ในความมีสีงามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้น
อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวการคบ-
หาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้ ในความมีสัมผัสนิ่มของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย...ของ
ชนเหล่าใด ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
การรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาแพงของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าว
ธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นอย่างผ้ากาสี ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบนวสูตรที่ ๘
 
๓๔/๕๓๙/๔๙๐

วันอาทิตย์, มีนาคม 16, 2568

Athimut

 
ถึงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีอธิมุติต่าง ๆ กัน และมีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน
และทรงทราบตลอดด้วยดีเพียงใด.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรง
ทราบดีแล้ว ท่านจึงกล่าวคำว่า ก็สุปปิยปริพาชกนี้ ดังนี้เป็นต้น. มีคำ
อธิบายว่า ก็ความที่สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน มีอัธยาศัยต่างกัน มี
ทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน นี้ใด อันพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันเป็นเครื่องรู้ความที่
สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกัน ดุจทรงตวงด้วยทะนาน และดุจทรงชั่งด้วย
ตาชั่ง โดยพระบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้ง-
หลายย่อมเทียบเคียงกันเข้าได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้
กับพวกที่มีอธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มี
อธิมุติอาทิผิด สระดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อดีตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายก็
เทียบเคียงเข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มี
อธิมุติเลว พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อนาคตกาล ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายจักเทียบเคียงเข้า
กันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว
พวกที่มีอธิมุติดีก็จักเทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้ปัจจุบันกาลเดี๋ยวนี้ ว่าโดยธาตุ สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียง
เข้ากันได้ คือพวกที่มีอธิมุติเลวก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติเลว
พวกที่มีอธิมุติดีก็เทียบเคียงเข้ากันได้กับพวกที่มีอธิมุติดี ดังนี้ ความที่
สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุติต่างกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว
เพียงใด ขึ้นชื่อว่าสัตว์ถึงสองคนมีอัธยาศัยอย่างเดียวกัน หาได้ยากในโลก
 
๑๑/๙๐/๑๔๕

วันเสาร์, มีนาคม 15, 2568

Ton Mai

 
ชื่อ ตโตตลา ตนหนึ่งชื่อ โอชลี ตนหนึ่งชื่อ เตชลี ตนหนึ่งชื่อ ตโตชลี.
บทว่า สุโรราชม ความว่า ตนหนึ่งชื่อ สุโร ตนหนึ่งชื่อ ราชา ตนหนึ่งชื่อ
สุโรราชา. บทว่า อริฏฺโฐ เนมิ ความว่า ตนหนึ่งชื่อ อริฏฐะ ตนหนึ่งชื่อ
เนมิ ตนหนึ่งชื่อ อริฏฐเนมิ.
บทว่า ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี ความว่า ก็ใน
วิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำห้วงหนึ่งชื่อ ธรณี โดยชื่อ. ท่านกล่าวว่า
มีสระโบกขรณีใหญ่กว้าง ๕๐ โยชน์. บทว่า เป็นแดนที่เกิดเมฆ ความว่า
เมฆทั้งหลายรับน้ำจากสระโบกขรณี แล้วตกลงมา. บทว่า เกิดฝนตก
ความว่า ฝนตกท่วม. ได้ยินว่า เมื่อเมฆตั้งเค้า น้ำเก่าย่อมไหลออกจาก
สระโบกขรณีนั้น. เมฆตั้งเค้าเบื้องบนยังสระโบกขรณีนั้นให้เต็มด้วยน้ำใหม่.
น้ำเก่าเป็นน้ำมีในเบื้องต่ำ ย่อมไหลออกไป. เมื่อสระโบกขรณีน้ำเต็ม เมฆ
ย่อมเคลื่อนไป. บทว่า สภา คือ สถานที่ประชุม ณ ฝั่งโบกขรณีนั้น
มีมณฑปแก้วประมาณ ๑๒ โยชน์ล้อมด้วยเถาวัลย์ ชื่อ ภคลวดี. นี้ท่าน
กล่าวหมายถึงมณฑปนั้น. บทว่า ปยิรุปาสนฺติ ความว่า นั่งอยู่ บทว่า
ต้นไม้อาทิผิด อาณัติกะมีผลมาก ความว่า มณฑปแก้ว ย่อมแสดงถึงว่า ต้นไม้มีมะม่วง
และหว้า เป็นต้น ล้อมมณฑปนั้น ในที่นั้น แผ่ไปทุกเวลา และดอกไม้
มีดอกจำปาเป็นต้น บานอยู่เป็นนิจ. บทว่า ประกอบด้วยหมู่นกนานา
ชนิด คือ ดารดาษไปด้วยหมู่นกต่าง ๆ. บทว่า มีนกยูง นกกะเรียน
เสียงหวาน ความว่า นกยูง นกกะเรียนมีเสียงหวาน ประสานเสียง.
บทว่า ณ ที่นี้มีเสียงนกร้องว่า ชีวะ ชีวะ ความว่า ณ ที่นี้ มีเสียง
นกชื่อ ชีว ชีวกะ ร้องอย่างนี้ว่า ชีวะ ชีวะ ดังนี้. บทว่า มีเสียงปลุกใจ
ความว่า แม้นกมีเสียงปลุกใจ ก็ร้องอยู่อย่างนี้ ลุกขึ้นเถิด จิตตะ ลุกขึ้นเถิด
 
๑๖/๒๒๐/๑๕๒

วันศุกร์, มีนาคม 14, 2568

Kham

 
เพราะฉะนั้น พึงเห็นใจความในคำว่า ยานิ วา ปนญฺญานิ เป็นต้นนี้
อย่างนี้ว่า ก็หรือพืชแม้อย่างอื่นใดบรรดามี เป็นต้นว่า ไม้กอ ไม้เถา และ
ไม้ต้น ซึ่งเกิดและงอกขึ้นที่เหง้า มีชนิด เช่น รากเหง้าเชือกเขา (รากเหง้า
เถามัน) กระจับ บัวแดง บัวเขียว บัวขาบ บัวขาว (บัวสาย) เผือก มัน
และแคฝอยเป็นต้น. ไม้กอ ไม้เถา และไม้ต้นเป็นอาทินั้น ย่อมเกิดและย่อม
งอกที่เหง้าใด, ก็เหง้านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในบาลี พืชเกิด
จากเหง้า มีขมิ้นเป็นต้นนี้ แม้ทั้งหมด ชื่อว่า มูลพืช. ในขันธพืชเป็นต้น
(พืชเกิดจากลำต้น) ก็นัยนี้ .
ก็อีกอย่างหนึ่ง บรรดาพืชทั้งหลาย มีพืชที่เกิดจากลำต้น เป็นอาทินี้
พืชเหล่าใด มีต้นมะกอก ต้นช้างน้าว (อ้อยช้างก็ว่า) สลัดได ทองหลาง
กรรณิการ์เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากลำต้น พืชทั้งหลาย มีเถาส้ม
เถาสี่เหลี่ยม และเถาดีปลี (ยี่หร่าก็ว่า) เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิด
แต่ข้อ, พืชมี ปอ มะลิ หงอนไก่ เป็นต้น บัณฑิตพึงเห็นว่า พืชเกิดจากยอด.
พืชมีเมล็ดมะม่วง หว้า และขนุนเป็นต้น พึงทราบว่า พืชเกิดจากเมล็ด.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติ อนาบัติ
และชนิดแห่งความถูกพราก ด้วยอำนาจสัญญา (ชื่อ) ในคำที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติยํ (เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความถูกพรากแห่ง
ภูตคาม) จึงตรัสคำอาทิผิด อักขระว่า พีเช พีชสญฺญี เป็นต้น.
ภูตคามที่เกิดจากเมล็ด บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส-
เรียกว่า พืช ในคำว่า พีเช พีชสญฺญี นั้น ดุจข้าวสุกแห่งข้าวสารข้าวสาลี
เขาเรียกกันว่า ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ในคำว่า สาลีนญฺเจว โอทนํ ภุญชติ
สมัยนี้แปลกันว่ามันฝรั่ง แต่ชาวอินเดียเรียกว่า “อาล.” -ผู้ชำระ.
 
๔/๓๕๗/๒๗๔

วันพฤหัสบดี, มีนาคม 13, 2568

Satipatthan

 
เจริญอานาปานสติแล้วธรรมทั้ง ๔ จะบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะให้สติปัฏฐาน ๔ บริบูรณ์ได้. สติปัฏฐานอาทิผิด อาณัติกะ ที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะให้โพชฌงค์ ๗ บริบูรณ์ได้. โพชฌงค์ ๗ ที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะให้วิชชาและวิมุตติ บริบูรณ์ได้.

วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ ที่ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในอาทิผิด ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้
ก็ดี อยู่ในเรือนร้างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า.
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจ
ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจ
เข้าสั้น. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจ
ออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่
ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่า เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่า เรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนด
รู้สุข หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า. สำเหนียก
อยู่ ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้
กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า. สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร
 
๒๒/๒๘๘/๓๖๗

วันพุธ, มีนาคม 12, 2568

Phum

 
เหลือง.
ครูมักขลิโคสาล ทำผู้ให้ปัจจัยแก่ตนให้เป็นผู้เจริญที่สุดกว่านิครนถ์
ทั้งหลายอย่างนี้. เขาเรียกอาชีวกชายและอาชีวกหญิง ว่า อภิชาติขาว.
ได้ยินว่า พวกอภิชาติขาวเหล่านั้นขาวกว่า ๔ พวกข้างต้น. ท่านกล่าวว่า
นันทะ วัจฉะ กีสะ สังกิจจะ ท่านมักขลิโคสาลเป็นอภิชาติขาวยิ่ง
ได้ยินว่า ท่านเหล่านั้นขาวกว่าท่านอื่น ๆ ทั้งหมด.
บทว่า อฏฺ ปุริสภูมิโย ความว่า ครูมักขลิโคสาลกล่าวว่า ภูมิ
๘ เหล่านี้คือ มันทภูมิ ขิฑฑาภูมิ ปทวีมังสภูมิ อุชุคตภูมิ เสขภูมิ สมณภูมิ
ชินภูมิ ปันนภูมิ เป็นปุริสภูมิ.
ในภูมิ ๘ นั้น ตั้งแต่วันคลอดอาทิผิด อักขระมาใน ๗ วัน สัตว์ทั้งหลายยังมึนงง
อยู่ เพราะออกมาจากที่คับแคบ ครูมักขลิโคสาลเรียกคนภูมินี้ว่า มันท-
ภูมิ.
ส่วนผู้ที่มาจากทุคคติย่อมร้องไห้ส่งเสียงอยู่เนือง ๆ ผู้ที่มาจากสุคติ
ระลึกถึงสุคตินั้นเสมอ ย่อมหัวเราะ นี้ชื่อว่า ขิฑฑาภูมิ.
เด็กที่จับมือหรือเท้าของมารดาบิดา หรือจับเตียงหรือตั่ง แกว่งเท้า
บนพื้น ชื่อว่า ปทวีมังสภูมิอาทิผิด อักขระ.
เด็กในเวลาที่สามารถเดินได้ ชื่อว่า อุชุคตภูมิ.
ในเวลาศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชื่อว่า เสขภูมิ.
ในเวลาออกจากเรือนบวช ชื่อว่า สมณภูมิ.
ในเวลาที่คบหาอาจารย์แล้วรู้วิชา ชื่อว่า ชินภูมิ.
สมณะผู้ไม่มีรายได้ เรียกว่า ปันนภูมิ ดังที่กล่าวไว้ว่า ภิกษุก็ดี
พวกปันนกะหรือชินะก็ดี ไม่กล่าวขออะไร ๆ.
 
๑๑/๑๔๐/๓๘๓

คลังบทความของบล็อก