วันอาทิตย์, มีนาคม 02, 2568

Thi Nai

 
เล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่ทูลกระหม่อมแม้เกล้ากระหม่อมฉัน มิได้สมปรารถนา
ชีวิตของเกล้ากระหม่อมฉันเป็นอันไม่มีละ พระเจ้าค่ะ. ตรัสปลอบว่า นาง-
ผู้เจริญใจ อย่าเสียใจเลยนะ ถ้ามันมีอยู่ ณ ที่อาทิผิด อาณัติกะไหน เธอต้องได้แน่นอน แล้ว
เสด็จประทับนั่งเหนือพระราชอาสน์ ตรัสถามหมู่อำมาตย์ว่า แน่ะพ่อเอ๋ย เทวี
ปรารถนาจะฟังธรรมของนกยูงทอง อันนกยูงมีสีเหมือนสีทองน่ะ มีอยู่หรือไม่.
พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอเดชะ พวกพราหมณ์คงจักทราบ พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสให้หาพวกพราหมณ์มาเฝ้าแล้ว มีพระดำรัสถาม. พวกพราหมณ์
พากันกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระมหาราช สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้นคือ ใน
จำพวกสัตว์น้ำ ปลา เต่า ปู ในจำพวกสัตว์บก มฤค หงส์ นกยูง นกกระทา
มีสีเหมือนสีทอง มีอยู่ แม้มนุษย์ทั้งหลายเล่า ก็มีสีเหมือนสีทองมีอยู่ ทั้งนี้
มีมาในคัมภีร์ลักษณมนต์ ของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระเจ้าข้า.
พระราชาทรงเรียกพวกบุตรพรานในแว่นแคว้นของพระองค์มาประชุม
กัน. รับสั่งว่า นกยูงทองพวกเธอเคยเห็นบ้างไหม. คนที่บิดาเคยเล่าให้ฟังกราบ
ทูลว่า ถึงข้าพระองค์จะไม่เคยเห็น แต่บิดาของข้าพระองค์บอกไว้ว่า นกยูงทอง
มีอยู่ในสถานที่ตรงโน้น พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นพระราชาตรัสกะเขาว่า สหายเอ๋ย
เธอจักเป็นคนให้ชีวิตแก่ฉัน และเทวีได้ละ เพราะฉะนั้น เธอจงไปที่นั้น จับมัดนก
ยูงทองนั้นนำมาเถิด ประทานทรัพย์เป็นอันมากส่งไป. เขาให้ทรัพย์แก่ลูกเมีย
แล้วไป ณ ที่นั้น เห็นพระมหาสัตว์ ก็ทำบ่วงดักรอว่า วันนี้คงติด วันนี้คงติด ก็
ไม่ติดสักที จนตายไป. พระเทวีเล่าเมื่อไม่ได้ดังพระปรารถนา ก็สิ้นพระชนม์ไป.
พระราชาทรงกริ้วว่า เพราะอาศัยนกยูงทองตัวนี้เป็นเหตุ เมียรักของเราต้อง
สิ้นพระชนม์ ทรงมีพระหฤทัยเป็นไปในอำนาจแห่งเวร ทรงให้จารึกไว้ใน
แผ่นทองว่า ที่ทิวเขาที่สี่ในป่าหิมพานต์ มีนกยูงทองอาศัยอยู่ บุคคลได้กินเนื้อ
 
๖๐/๑๙๗๔/๔๕๙

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก