วันพฤหัสบดี, มีนาคม 06, 2568

Thana

 
บทว่า ปวารณาฏฺฐปนํ ปญฺญตฺตํ ความว่า ทรงบัญญัติการงดปวารณา
เมื่อภิกษุมีอาบัติสวดญัตติปวารณา.
ในตัชชนียกรรมเป็นต้น เมื่อภิกษุทั้งหลายทิ่มแทงกันด้วยหอกคือ
วาจา ทรงบัญญัติตัชชนียกรรมแก่เหล่าภิกษุพวกปัณฑุกะและพวกโลหิตกะ.
ทรงบัญญัตินิยัสสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะผู้เป็นพาลไม่ฉลาด. ทรงปรารภ
ภิกษุพวกอัสสชิปุนัพพสุกะผู้ประทุษร้ายตระกูล บัญญัติปัพพาชนียกรรม.
ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรมแก่พระสุธรรมเถระผู้ด่าพวกคฤหัสถ์ ทรง
บัญญัติอุกเขปนียกรรม ในเพราะไม่เห็นอาบัติเป็นต้น.
ทรงบัญญัติการให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ปกปิดไว้สำหรับภิกษุผู้ต้อง
ครุกาบัติ ทรงบัญญัติมูลายปฏิกัสสนะ แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติในระหว่างอยู่
ปริวาส. ทรงบัญญัติการให้มานัตเพื่ออาบัติที่ปกปิดก็ดี ที่มิได้ปกปิดก็ดี.
ทรงบัญญัติอัพภานแก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้ว.
ทรงบัญญัติโอสารณียกรรมแก่อุปสัมปทาเปกขะผู้ปฏิบัติถูกระเบียบ.
ทรงบัญญัตินิสสารณียกรรมในเพราะปฏิบัติไม่ถูกระเบียบเป็นต้น .
ทรงบัญญัติอุปสัมปทา ๘ อย่าง คือ ๑. เอหิภิกษุอุปสัมปทา
๒. สรณคมนอุปสัมปทา ๓. โอวาทอุปสัมปทา ๔. ปัญหาพยากรณ-
อุปสัมปทา ๕. ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา ๖. ครุธรรมอุปสัมปทา
๗. อุภโตสังเฆอุปสัมปทา ๘. ทูเตนอุปสัมปทา.
ทรงบัญญัติกรรมซึ่งประกอบด้วยฐานะอาทิผิด อักขระ อย่างนี้ว่า ญัตติกรรม
ย่อมถึงฐานะ ๙ ดังนี้. ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ซึ่งประกอบด้วยฐานะ
๗ อย่างนี้ว่า ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ ดังนี้ . ทรงบัญญัติญัตติ-
จตุตถกรรมซึ่งประกอบด้วยฐานะ ๗ เหมือนกันอย่างนี้ว่า ญัตติจตุตถ-
 
๒๔/๔๓๙/๕๐๙

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก