วันพุธ, เมษายน 30, 2568

Rumron

 
เก้าอย่างไม่ให้เหลือ. บทว่า วิชฺชายนฺตกโร ได้แก่ ผู้กระทำที่สุดแห่งกิเลส
ทั้งหลายด้วยวิชชา. บทว่าอาทิผิด อาณัติกะ สมิตาวี ได้แก่ เป็นผู้สงบเพราะกิเลสมีราคะ
เป็นต้นสงบ.
จบอรรถกถาเปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓

๔. อานันทสูตร

ว่าด้วยวิธีแก้จิตกระสัน

[๗๓๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร
เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ
ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่าน
พระวังคีสะ.
[๗๓๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ด้วย
คาถาว่า
ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ จิต
ของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่านจงบอกวิธี
เป็นเครื่องดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่
ข้าพเจ้าด้วยเถิด โคดม.
[๗๓๗] ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า
จิตของท่านรุ่มร้อนอาทิผิด อาณัติกะ เพราะสัญญา
อันวิปลาส ท่านจงละเว้นนิมิตอันสวยงาม
อันเกี่ยวด้วยราคะเสีย ท่านจงเห็นสังขาร
 
๒๕/๗๓๗/๓๑๓

วันอังคาร, เมษายน 29, 2568

Chada

 
๙. กูฏวินิจฉยีกเปตวัตถุ

ว่าด้วยเปรตจิกกินเนื้อหลังของตนกิน

พระนารทเถระถามเปรตตนหนึ่งว่า
[๑๑๙] ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎาอาทิผิด อักขระ สวมกำไล
ทอง ลูบไล้ด้วยจุณจันทน์ มีสีหน้าผ่องใส
งดงามดุจสีพระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาในอากาศ
มีนางฟ้าหมื่นหนึ่งเป็นบริวารบำรุงบำเรอท่าน
นางฟ้าเหล่านั้นล้วนสวมกำไลทอง นุ่งห่มผ้าอัน
ขลิบด้วยทองคำ ท่านเป็นผู้มีอานุภาพมาก มีรูป
เป็นที่ให้เกิดขนชูชันแก่ผู้พบเห็น แต่ท่านจิกเนื้อ
ที่หลังของตนกินเป็นอาหาร ท่านได้ทำกรรมชั่ว
อะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ เพราะวิบากแห่งกรรม
อะไร ท่านจึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็น
อาหาร.
เปรตนั้นตอบว่า
กระผมได้ประพฤติทุจริตด้วยการส่อเสียด
พูดเท็จและหลอกลวง เพื่อความฉิบหายแก่ตน
ในมนุษยโลก กระผมไปแล้วบริษัทในมนุษย-
โลกนั้น เมื่อเวลาควรจะพูดความจริงปรากฏแล้ว
 
๔๙/๑๑๙/๔๓๓

วันจันทร์, เมษายน 28, 2568

Klai klai

 
ช้างเหล่านั้น ย่อมบันลือเสียงน่าหวาดกลัว
โกรธแม้แต่ลมที่พัดถูกตัว ถ้าเห็นมนุษย์ ณ ที่นั้น
เป็นต้องขยี้เสีย ให้เป็นภัสมธุลี แม้แต่ละอองก็ไม่
ถูกต้องพญาช้างได้เลย.
[๒๓๓๖] ข้าแต่พระราชเทวี เครื่องอาภรณ์ที่
แล้วไปด้วยเงิน แก้วมุกดา แก้วมณี และแก้วไพฑูรย์
มีอยู่ในราชสกุลมากมาย เหตุไร พระแม่เจ้า จึงทรง
พระประสงค์เอางาช้างมาทำเป็นเครื่องประดับเล่า พระ-
แม่เจ้าทรงปรารถนาจะให้ฆ่าพญาช้าง ซึ่งมีงามีรัศมี
๖ ประการเสีย หรือว่าจะให้พญาช้างฆ่าพวกเชื้อแถว
ของนายพรานเสียกระมัง.
[๒๓๓๗] ดูก่อนนายพราน เรามีทั้งความริษยา
ทั้งความน้อยใจ เพราะนึกถึงความหลังเข้าก็ตรอมใจ
ขอท่านจงทำตามความประสงค์ของเรา เราจักให้บ้าน
ส่วยแก่ท่าน ๕ ตำบล.
[๒๓๓๘] พญาช้างนั้นอยู่ที่ตรงไหน เข้าไปยืน
อยู่ที่ไหน ทางไหนเป็นทางที่พญาช้างไปอาบน้ำ อนึ่ง
พญาช้างนั้นอาบน้ำอย่างไร ทำไฉน ข้าพระพุทธเจ้า
จึงจะรู้คติของพญาช้างได้ ?
[๒๓๓๙] ในที่ ๆ พญาช้างอยู่นั้น มีสระอยู่
ใกล้อาทิผิด สระ น่ารื่นรมย์ มีท่าราบเรียบ ทั้งน้ำก็มาก สะพรั่ง
ไปด้วยพรรณไม้ดอก มีหมู่ภมรมาเคล้าคลึง พญาช้าง
ลงอาบน้ำในสระนี้แหละ.
 
๖๑/๒๓๓๙/๓๗๒

วันอาทิตย์, เมษายน 27, 2568

Chawi Wan

 
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ.
๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย.
๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบ
คลำได้ถึงพระชานุทั้งสอง.
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก.
๑๐. มีพระฉวีวรรณอาทิผิด อักขระดุจวรรณแห่งทองคำ คือ มีพระตจะประ-
ดุจหุ้มด้วยทอง.
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิ
ติดอยู่ในพระกายได้.
๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่ง ๆ เกิดในขุมละเส้น ๆ.
๑๔. มีพระโลมชาติที่มีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสี
เหมือนดอกอัญชัน ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ.
๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม.
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน.
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของราช-
สีห์.
๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม.
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกาย
ของพระองค์ พระกายของพระองค์เท่ากับวาของพระองค์.
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน.
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี.
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์.
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่.
 
๑๓/๒๙/๑๙

วันเสาร์, เมษายน 26, 2568

Kap

 
ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ดุจกาลที่หอยโข่งและหอยกาบอาทิผิด สระเป็นต้นแจ่ม-
แจ้งแล้วแก่บุรุษผู้มีจักษุยืนดูอยู่ที่ฝั่ง ฉะนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงถือเอาชื่อพระขีณาสพ ทั้ง
เพศ ทั้งคุณ ด้วยอาการ ๗ อย่าง จึงตรัสบทว่า อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ
สมโณ อิติปิ เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในบทว่า เอวํ โข
ภิกฺขเว ภิกฺขุ สมโณ โหติ เป็นต้น อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า สมณะ เพราะมีบาปอันสงบแล้วด้วยอาการ
อย่างนี้. ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีบาปอันลอยแล้ว. ชื่อว่า นหาตกะ
(ผู้อาบ) เพราะมีกิเลสล้างออกแล้ว คือมีกิเลสอันกำจัดออกแล้ว. ชื่อว่า
เวทคู เพราะอกุศลธรรมทั้งหลายไปแล้ว ด้วยเวททั้งหลาย คือ มรรคญาณ
๔ อธิบายว่า เพราะรู้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
วิทิตสฺส โหนฺติ เป็นต้น. ชื่อว่า โสตติยะ เพราะกิเลสทั้งหลายหลับไปแล้ว
คือว่า เพราะกิเลสทั้งหลายไม่ไหลออกไปมา. ชื่อว่า อริยะ เพราะไกลจาก
กิเลสทั้งหลาย อธิบายว่า เพราะกิเลสทั้งหลายถูกกำจัดแล้ว. ชื่อว่า อรหันต์
เพราะไกล คือว่า เป็นผู้ห่างไกลแล้ว. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏแจ่มแจ้ง
แล้วแล.

จบอรรถกถามหาอัสสปุรสูตรที่ ๙
 
๑๙/๔๗๘/๒๓๖

วันศุกร์, เมษายน 25, 2568

Pari Nipphan

 
อากาโส) อากาศหาที่สุดมิได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจ
ยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่
ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น ) จนกระทำกาลกิริยา
ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากาสานัญจายตนะ
ภิกษุทั้งหลาย ๒๐,๐๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากา-
สานัญจายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็นปุถุชน อยู่จนตลอดกำหนด
อายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิด
ดิรัจฉานก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็น
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้วย่อม
ปรินิพพานอาทิผิด ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้
สดับกับปุถุชนผู้มิอาทิผิด สระได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่ (คือยังต้องเวียนเกิดอยู่)
อีกข้อหนึ่ง บุคคลลางคนในโลกนี้ล่วงอากาสานัญจายตนะหมด (ถือ
วิญญาณเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺตํ วิญฺาณํ) วิญญาณหาที่สุดมิได้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้ง
อยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่
ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่า
วิญญาณัญจายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย ๔๐,๐๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าวิญญา-
ณัญจายตนะ. (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชน อยู่ตลอดกำหนดอายุ
ในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับกับ
ปุถุชนผู้อาทิผิด มิได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่
 
๓๔/๕๕๖/๕๓๑

วันพฤหัสบดี, เมษายน 24, 2568

Kilet

 
พาธุระหน้าที่ของลูกผู้ชายทั้ง ๔ อย่าง คือ ทาน ศีล ภาวนา และ
มิตรภาพ ที่ลูกผู้ชายทั้งหลายจะพึงนำพา ย่อมยังเหตุเครื่องกระทำ
ความปราโมทย์กล่าวคือมิตรภาพนี้ และสุขอันเป็นเหตุนำมาซึ่งสรร-
เสริญให้เกิด คือ ให้เจริญ ท่านแสดงว่า ไม่ทำลายมิตรภาพให้แตก
จากบัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปวิเวกรสํ ได้แก่ รสแห่งกายวิเวก
จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก คือ รสแห่งความโสมนัสอันอาศัยวิเวก
เหล่านั้นเกิดขึ้น. บทว่า อุปสมสฺส จ ได้แก่ โสมนัสอันได้แล้ว
เพราะความสงบระงับกิเลส. บทว่า นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ความว่า
ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย เพราะไม่มีความกระวนกระวาย
ด้วยอำนาจของกิเลสอาทิผิด สระทั้งปวง ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีบาป เพราะไม่มีกิเลส.
บทว่า ธมฺมปีติรสํ ความว่า ดื่มรสกล่าวคือธรรมปีติ ได้แก่ ปีติอัน
เกิดแต่วิมุตติ.
พระมหาสัตว์สยดสยองการเกลือกกลั้วกับปาปมิตร จึงถือเอา
ยอดแห่งเทศนา โดยให้บรรลุพระอมตมหานิพพาน ด้วยรสแห่งวิเวก
ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีชาวปัจจันตคามในครั้งนั้น ได้เป็นเศรษฐี
ชาวปัจจันตคามนี้แหละ ส่วนพาราณสีเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาหิริชาดกที่ ๓
 
๕๘/๗๖๗/๘๑๑

วันพุธ, เมษายน 23, 2568

Alternate Spelling

 
ต้น ปลายแห่งบาลี ตั้งอยู่ในนัยที่อาจารย์ให้ไว้ดำเนินไปเหมือนกำหนดด้วย
ตาชั่งอาทิผิด อักขระ เหมือนส่งน้ำไปที่เหมืองลึก เหมือนสินธพอาชาไนยกระทืบเท้า
ถ้อยคำของภิกษุนั้น ชื่อว่าราบเรียบ ท่านหมายเอาถ้อยคำเห็นปานนี้
จึงกล่าวว่า ปริมณฺฑเลหิ ปทพฺยญฺชเนหิ ดังนี้.
ในบทว่า อนุปฺปพนฺเธหิ ความว่า ภิกษุใด กล่าวธรรม ตั้งแต่เวลา
เริ่มสูตร หรือชาดกปรารภ รีบด่วนเหมือนคนสีไฟ เหมือนคนเคี้ยวของ
ร้อน กระทำที่ถือเอาแล้ว ๆ และไม่ถือเอาแล้วๆ ในอนุสนธิเบื้องต้นเบื้องปลาย
แห่งบาลี อ้อมแอ้มในที่นั้นๆ จบลุกไป เหมือนคนเลี้ยงเหี้ยเที่ยวไปในระหว่าง
ใบไม้เก่า ภิกษุใด เมื่อกล่าวธรรม บางคราวก็เร็ว บางคราวก็ช้า บางคราว
ทำเสียงดัง บางคราวทำเสียงค่อย ไฟอาทิผิด อักขระเผาศพ บางคราวลุก บางคราวก็ดับฉันใด
ภิกษุนั้นชื่อว่าพระธัมมกถึกเปรียบด้วยไฟเผาศพฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบริษัท
ประสงค์จะลุก เริ่มขึ้นอีก. แม้ภิกษุใด เมื่อกล่าวให้พิสดารในที่นี้แม้แต่เธอ
กล่าวเหมือนถอนหายใจ เหมือนคร่ำครวญ ถ้อยคำของภิกษุเหล่านี้แม้ทั้งหมด
ชื่อว่าไม่ติดต่อกัน. ส่วนผู้ใดเริ่มสูตร ตั้งอยู่ในนัย ที่อาจารย์ให้ไว้ทำไม่ขาด
สายให้เป็นไป เหมือนกระแสน้ำยังถ้อยคำให้เป็นไม่ขาดตอนเหมือนน้ำตกจาก
คงคา ถ้อยคำของเขาชื่อว่า ติดต่อกันโดยลำดับ ท่านหมายเอาถ้อยคำนั้น
จึงกล่าวว่า อนุปฺปพนฺเธหิ ดังนี้. บทว่า อนุสยสมุคฺฆาตายอาทิผิด สระ ได้แก่ เพื่อถอนอนุสัย
๗ อย่าง. บทว่า เอวรูเปน ความว่า ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุพหูสูต
เห็นปานนี้ หรือภิกษุแสดงรูปเห็นปานนั้นนั่งแล้ว ชายสังฆาฏิกับชาย
สังฆาฏิจดกัน หรือเข่ากับเข่าจดกันและกัน พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวง
โดยนัย. ภิกษุชื่อปฏิสัลลานารามา เพราะอรรถว่า ความหลีกเร้นเป็นที่มา
ยินดีของภิกษุนั้น. บทว่า ปฏิสลฺลานรโต คือ ยินดีแล้วในการหลีกเร้น. บท
ว่า สหสฺสโลกานํ คือ โลกธาตุพันหนึ่ง. จริงอยู่ การเสพธุระ เนื่องด้วยการ
พิจารณาของพระเถระมีประมาณเท่านี้. ส่วนพระเถระเมื่อหวัง ย่อมตรวจดูได้
 
๑๙/๓๘๒/๔๗

วันอังคาร, เมษายน 22, 2568

Bon

 
แก่อาตมาภาพ บำรุงอาตมาภาพเหมือนบุตรบำรุงบิดา
ฉะนั้น พูดจารื่นหู จับใจว่า
ท่านอาฬาระ ท่านเป็นเหมือนมารดาบิดาของ
ข้าพเจ้า เป็นดังดวงใจ เป็นผู้ให้ชีวิต เป็นสหาย
ข้าพเจ้าจึงกลับได้อิทธิฤทธิ์ของตน ข้าแต่ท่านอาฬาระ
ขอเชิญท่านไปเยี่ยมนาคพิภพของข้าพเจ้า ซึ่งมีภักษา
หารมาก มีข้าวและน้ำมากมาย ดังเทพนครของท้าว-
วาสวะ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมานํ ความว่า อาตมาภาพเห็นวิมาน
กาญจนมณี เพรียบพร้อมด้วยนาฏกิตถีสมบัติร้อยเศษของพญาสังขปาลนาคราช.
บทว่า ปุญฺญานํ ความว่า ครั้นเห็นมหาวิบากแห่งบุญที่นาคราชนั้นมา
ข้าพเจ้าจึงออกบวชด้วยศรัทธาอันเป็นไป เพราะเชื่อกรรม เชื่อผลแห่งกรรม
และเชื่อปรโลก.
บทว่า น กามกามา ความว่า ราชาตรัสว่า บรรพชิตทั้งหลาย
ย่อมไม่พูดเท็จ เพราะวัตถุกามบ้าง เพราะกลัวบ้าง เพราะโทสะบ้าง. บทว่า
ชายิหีติ ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความเลื่อมใส โสมนัส จักเกิดแก่
ข้าพเจ้าบ้าง เพราะได้ฟังถ้อยคำของท่าน.
บทว่า วาณิชฺชํ ความว่า ดาบสทูลว่า เมื่ออาตมาภาพเดินทางไป
ด้วยคิดว่าจักทำการค้าขาย. บทว่า ปเถ อทฺทสาสิมฺหิ ความว่า อาตมา
นั่งไปบนอาทิผิด อักขระยานน้อยข้างหน้าเกวียน ๕๐๐ เล่ม ได้เห็นมนุษย์ชาวชนบทในหนทาง
ใหญ่. บทว่า ปวฑฺฒกายํ ความว่า ผู้มีร่างกายอ้วนพี. บทว่า อาทาย
ความว่า หาบไปด้วยคานแปดอัน.
 
๖๑/๒๕๑๘/๖๗๖

วันจันทร์, เมษายน 21, 2568

Bangsukun

 
๕ วันบ้าง ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภค
ภัตที่เวียนมากึ่งเดือนบ้าง แม้เช่นนี้ด้วยประการฉะนี้อยู่ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็น
ภักษาบ้างมีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา
บ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง
มีข้าวไหม้เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้า
มันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเองเยียวยาอัตภาพ.
เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลอาทิผิด สระบ้าง
ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้า
เปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพล
ทำด้วยขนสัตว์บ้าง ทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประ-
กอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือห้ามอาสนะ
บ้าง เป็นผู้กระหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระหย่ง [คือเดินกระ-
หย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือสำเร็จการนอนบน
หนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำ
บ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการทำกายให้เดือดร้อนเร่าร้อนหลาย
อย่างเห็นปานนี้อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำตนให้
เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.
[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบ
ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะเลี้ยงชีวิต ฆ่า
สุกรเลี้ยงชีวิต ฆ่านกเลี้ยงชีวิต ฆ่าเนื้อเลี้ยงชีวิต เป็นคนเหี้ยมโหด เป็นคน
ฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนปกครองเรือนจำ หรือบุคคลเหล่าอื่น
 
๒๐/๙/๘

วันอาทิตย์, เมษายน 20, 2568

Mai Phai

 
ในที่ไหน ๆ กับมาณพเหล่านั้น ในที่ที่ท่านไปแล้วไปอีกก็ต้อนรับ
เพียงข้าวถ้วยเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงปรากฏชื่อว่า ปิณโฑลภาระ-
ทวาชะ วันหนึ่งเมื่อพระศาสดาเสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ท่านได้ฟัง
ธรรมกถา ได้ศรัทธาแล้ว บวชบำเพ็ญวิปัสสนา ได้บรรลุพระ-
อรหัตแล้ว ในเวลาที่ท่านบรรลุพระอรหัตนั่นเอง ท่านถือเอาผ้า
ปูนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณนี้ไปบริเวณโน้น
เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ขอท่าน
ผู้นั้นจงถามเราเถิด

วันหนึ่ง เศรษฐีในกรุงราชคฤห์เอาไม้อาทิผิด อาณัติกะไผ่ต่อ ๆ กันขึ้นไป
แขวนบาตรไม้แก่นจันทน์ มีสีดังดอกชัยพฤกษ์ไว้ในอากาศ ท่าน
เหาะไปถือเอาด้วยฤทธิ์ เป็นผู้ที่มหาชนให้สาธุการแวดล้อมไป
พระวิหาร วางไว้ในพระหัตถ์ของพระตถาคตแล้ว พระศาสดา
ทรงทราบอยู่สอบถามว่า ภารทวาชะ เธอได้บาตรนี้มาแต่ไหน
ท่านจึงเล่าเหตุการณ์ที่ได้มาถวาย พระศาสดาตรัสว่า เธอแสดง
อุตตริมนุสสธรรมเห็นปานนี้แก่มหาชน เธอกระทำกรรมสิ่งที่ไม่ควร
ทำแล้ว ทรงตำหนิโดยปริยายเป็นอันมากแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรแสดงอุตตริมนุสสธรรมอันเป็น
อิทธิปาฏิหาริย์แก่พวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ใดขืนแสดงต้องอาบัติ
ทุกกฎ" ดังนี้ ทีนั้นเกิดพูดกันในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า พระเถระ
ที่บันลือสีหนาทในวันที่ตนบรรลุพระอรหัต บอกในท่ามกลางภิกษุ-
สงฆ์ว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้
ในที่ต่อพระพักตรพระพุทธเจ้า ก็ทูลถึงการบรรลุพระอรหัตของตน
 
๓๒/๑๔๖/๓๒๔

วันเสาร์, เมษายน 19, 2568

Chaba

 
ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง ที่ขอบสระนั้นมีรุกขชาติ
หลายหลากขึ้นอยู่ คือ ไม้กระทุ่ม ไม้อาทิ ผิด อาณัติกะแคฝอย ไม้
ทองหลาง ผลิดอกบานสะพรั่ง ไม้อาทิผิด อาณัติกะปรู ไม้สัก ไม้อาทิผิด อาณัติกะ
ราชพฤกษ์ ดอกบานสะพรั่ง ไม้กากะทิง มีอยู่สองฟาก
สระมุจลินท์ ไม้ซึก ไม้อาทิผิด อาณัติกะแคขาว บัวบก ไม้คนทิสอ
ไม้ยางทรายขาว ไม้ประดู่ ดอกบานหอมฟุ้งที่ใกล้สระ
นั้น ต้นมะคำไก่ ต้นพิกุล ต้นแก้ว ต้นมะรุม
ต้นการเกด ต้นกรรณิการ์ ต้นชบาอาทิผิด สระ ต้นรกฟ้าขาว
ต้นรกฟ้าดำ ต้นสะท้อน และต้นทองกวาว ดอกบาน
ผลิดอกออกยอดพร้อม ๆ กัน ตั้งอยู่รุ่งเรืองแท้ ต้น
มะรื่น ต้นตีนเป็ด ต้นกล้วย ต้นคำฝอย ต้นนมแมว
ต้นคนทา ต้นประดู่ลายกับต้นกากะทิง มีดอกบาน
สะพรั่ง ต้นมะไฟ ต้นงิ้ว ต้นช้างน้าว ต้นพุดขาว
ต้นพุดซ้อน โกฐเขมา โกฐสอ มีดอกบานสะพรั่ง
พฤกษชาติทั้งหลายในสถานที่นั้น มีทั้งอ่อนทั้งแก่ ต้น
ไม่คด ดอกบาน ตั้งอยู่สองข้างอาศรม รอบเรือนไฟ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติฏฺฐนฺติ ความว่า ตั้งล้อมรอบสระ.
บทว่า กทมฺพา ได้แก่ ต้นกระทุ่ม. บทว่า กจฺจิการา จ ได้แก่ ต้นไม้ที่มี
ชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปาริชญฺญา ได้แก่ มีดอกแดง. บทว่า วารณา วุยฺหนา
ได้แก่ ต้นนาคพฤกษ์. บทว่า มุจลินฺทมุภโต ได้แก่ ณ ข้างทั้งสองของ
สระมุจลินท์. บทว่า เสตปาริสา ได้แก่ รุกขชาติที่เป็นพุ่มขาว. ได้ยิน
ว่า ต้นแคขาวเหล่านั้นมีลำต้นขาว ใบใหญ่ มีดอกคล้ายดอกกรรณิการ์. บทว่า
 
๖๔/๑๒๖๙/๗๐๐

วันศุกร์, เมษายน 18, 2568

Tham

 
๙. มหาอัสสปุรสูตร

[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่
เจ้าอังคะในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อม
รู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็น
อะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวก
เธอนั้น มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักสมาทานประพฤติธรรมอาทิผิด อักขระ ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็น
พราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา
ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลาย
นั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา
อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกำไร.
[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทำความเป็นสมณะและทำ
ความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ บางทีพวกเธอจะมีความดำริ
ว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้
พอละพวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะประโยชน์ของความเป็นสมณะ
(มรรค ผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น
 
๑๙/๔๕๙/๒๐๕

วันพฤหัสบดี, เมษายน 17, 2568

Silathikhun

 
ก็สัตว์โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ที่ถือรูปเป็นประมาณมี ๒
ส่วน ที่ไม่ถือมี ๑ ส่วน. สัตว์โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน ที่ถือเสียง
เป็นประมาณมี ๔ ส่วน ที่ไม่ถือมี ๑ ส่วน. สัตวโลกทั้งหมดแบ่งออกเป็น ๑๐
ส่วน ที่ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณมี ๙ ส่วน ที่ไม่ถือมี ๑ ส่วน. สัตว์
โลกทั้งหมดแบ่งออกเป็นแสนส่วน ส่วนเดียวเท่านั้น ถือธรรมเป็นประมาณ
ส่วนที่เหลือไม่ถือธรรมเป็นประมาณ โลกสันนิวาสนี้ถือประมาณ ๔ อย่าง
อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในโลกสันนิวาสมีประมาณ ๔ อย่างนี้ ผู้ที่ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายมีประมาณน้อย ที่เลื่อมใสมีมาก เพราะว่าบุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณ
ชื่อว่า รูปอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส ยิ่งกว่ารูปของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือเสียงเป็นประมาณ ชื่อว่า เสียงอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสยิ่งกว่า
เสียงประกาศเกียรติคุณของพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ ชื่อว่า ความเศร้าหมองอื่นอันนำ
ความเลื่อมใสมา ที่ยิ่งกว่าความเศร้าหมองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระ-
พุทธเจ้า ผู้ละผ้าทั้งหลายที่เขาทอในแคว้นกาสี ละภาชนะทองคำอันมีค่ามาก
และละปราสาทอันประกอบด้วยสมบัติทั้งปวงอันสมควรแก่ฤดูกาลทั้ง ๓ แล้ว
เสพผ้าบังสุกุลจีวร บาตรอันสำเร็จด้วยศิลา และเสนาสนะมีโคนไม้เป็นต้น
ย่อมไม่มี.
ผู้ที่ถือธรรมเป็นประมาณ ชื่อว่า คุณมี ศีลเป็นต้นอื่น อันนำมาซึ่ง
ความเลื่อมใส อันยิ่งกว่าคุณมีศีลเป็นต้น ของพระตถาคต ผู้มีศีลาทิอาทิผิด คุณอันไม่ทั่ว
ไปในโลกนี้ตลอดเทวโลก ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรง
อยู่ เป็นเสมือนหนึ่งถือเอาโลกสันนิวาสมีประมาณ ๔ นี้ ด้วยกำมือฉะนี้แล.
 
๗๙/๑๓๓/๓๗๘

วันพุธ, เมษายน 16, 2568

Chue

 
คำขอมูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ-
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ ข้าพเจ้านั้น
ขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่ออาทิผิด สัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ได้ให้ปริวาส ๕ วัน
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้านั้น กำลังอยู่ปริวาส
ได้ต้องอาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง ชื่อสัญเจตนิกาสุกก-
วิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอ
การชักเข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติตัวหนึ่งในระหว่าง
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดบังไว้กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม.
[๓๙๗] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจามูลายปฏิกัสสนา
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้
๕ วัน เธอขอปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๕ วันกะสงฆ์ สงฆ์ได้
ให้ปริวาส ๕ วัน เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา-
 
๘/๓๙๗/๒๙๕

วันอังคาร, เมษายน 15, 2568

Tang Chai

 
ประจวบด้วยทักขิไณยบุคคล ๑ ท่านทั้งหลายมีศรัทธานี้อยู่ มีไทยธรรมนี้
อยู่ ทั้งอาตมาก็เป็นปฏิคาหก (ผู้ทักขิไณยบุคคล) ถ้าอาตมาจักไม่รับ
ท่านทั้งหลายก็จักเสื่อมจากบุญไป อาตมาไม่มีความต้องการด้วยปัจจัยนี้
ก็แต่ว่าอาตมาจะรับด้วยความอนุเคราะห์ท่านทั้งหลาย จำเดิมแต่นั้น ภิกษุ
นั้นก็รับจีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัย-
เภสัชบริขารมาก ความทำหน้ายู่ยี่ ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง
กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่ง
ความหลอกลวงกล่าวด้วยการซ่องเสพปัจจัย.
วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอิริยาบถเป็นไฉน ? ภิกษุบาง
รูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ
มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเราด้วยอุบาย
อย่างนี้ จึงสำรวมการเดิน สำรวมการยืน สำรวมการนั่ง สำรวมการนอน
ย่อมตั้งสติเดิน ตั้งสติยืน ตั้งสตินั่ง ตั้งสตินอน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิเดิน
ทำเหมือนภิกษุมีสมาธิยืน ทำเหมือนภิกษุมีสมาธินั่ง ทำเหมือนภิกษุมี
สมาธินอน และทำเหมือนภิกษุที่เจริญอาปาถกฌาน (เจริญฌานต่อหน้า
พวกมนุษย์) การตั้งอาทิผิด ใจทำ การทำ ก้าวดำรงอิริยาบถ ความทำหน้ายู่ยี่
ความเป็นผู้มีหน้ายู่ยี่ ความหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง ความเป็นผู้
หลอกลวง เห็นปานนี้ เรียกว่า วัตถุแห่งความหลอกลวงกล่าวด้วยอาทิผิด
อิริยาบถ.
วัตถุแห่งดงามหลอกลวงกล่าวด้วยการพูดเลียบเคียงเป็นไฉน ?
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนา
ครอบงำ มีความประสงค์ในการยกย่อง คิดว่า ประชุมชนจักยกย่องเรา
ด้วยอุบายอย่างนี้ จึงกล่าววาจาอิงอริยธรรม คือ พูดว่า สมณะใดทรงจีวร
 
๖๖/๘๙๗/๕๕๗

วันจันทร์, เมษายน 14, 2568

Akusalachit

 
ทั้งหลายเป็นอัพยากตะ เป็นอเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต หมายถึง
ขณะนั้นจิตกำลังเป็นกุศลหรืออัพยากตะ.
ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านทำคำถามว่า บุคคลย่อมละกิเลสทั้งหลาย
แม้อันเป็นปัจจุบันหรือ ดังนี้ แล้วตอบว่า บุคคลชื่อว่าย่อมละอนุสัยอันมี
กำลังเพราะความที่อนุสัยทั้งหลายเป็นสภาพมีอยู่แก่ความเป็นปัจจุบัน.
ในธรรมสังคหะ ในการจำแนกบทโมหะ ท่านกล่าวความเกิดขึ้น
แห่งอวิชชานุสัยกับอกุสลอาทิผิด สระจิตว่า อวิชชานุสัย ได้แก่ อนุสัยคืออวิชชา อวิชชา-
ปริยุฏฐาน ได้แก่ ปริยุฏฐานคืออวิชชา อวิชชาลังคิ ได้แก่ ลิ่มคืออวิชชา
อกุสลมูล คือโมหะนี้มี ณ สมัยใด สมัยนั้น โมหะย่อมมี ดังนี้.
ในอนุสัยยมกนี้นั่นแหละ ในอุปปัชชวาระ คือวาระว่าด้วยการเกิดขึ้น
วาระใดวาระหนึ่งแห่งมหาวาระ ๗ ท่านกล่าวคำเป็นต้นไว้ว่า กามราคา-
นุสัยย่อมเกิดแก่บุคคลใด ปฏิฆานุสัยก็ย่อมเกิดแก่บุคคลนั้นใช่ไหม ดังนี้
เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวแล้วว่า ย่อมนอนเนื่อง คำนั้น อธิบายว่า
อนุสัยทั้งหลายเหล่านั้นได้เหตุอันสมควรแล้วย่อมเกิดขึ้น ดังนี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า คำนั้นท่านกล่าวดีแล้วโดยแบบแผนนี้เป็นประมาณ. คำแม้ใด
ที่ท่านกล่าวไว้เป็นต้นว่า อนุสัยเป็นจิตตสัมปยุต เป็นสารัมมณะ ดังนี้
แม้คำนั้นก็ชื่อว่าท่านกล่าวดีแล้วนั่นแหละ. คำว่า ก็ชื่อว่า อนุสัยเป็น
ของสำเร็จแล้ว เป็นจิตตสัมปุต เป็นอกุสลธรรม ดังนี้ พึงถึงความสิ้นสุด
กันในที่นี้แล.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำทั้งหลาย มีกามราคานุสัย เป็นต้นว่า
กามราคะนั้นแหละชื่อว่าอนุสัยเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า กามราคานุสัย. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้นั่นแหละ. ต่อไป
 
๘๑/๑๓๓๗/๒๐๗

วันอาทิตย์, เมษายน 13, 2568

Sabai

 
อยู่ ๒๐๐ กหาปณะ ถ้าท่านสามารถกระเดียดฉัน คลุมมิดชิด
ด้วยผ้าสไบอาทิผิด สระเฉียง ไม่ให้ใคร ๆ เห็น พาฉันออกจากเมืองได้
ฉันจักให้เหรียญกษาปณ์เหล่านั้นแก่ท่าน ด้วยความโลภอยากได้
ทรัพย์ พราหมณ์จึงรับคำ กระทำตามคำของมัน พาออกจาก
เมืองไปได้หน่อยหนึ่ง ลำดับนั้น หมาจิ้งจอกถามพราหมณ์ว่า
ท่านพราหมณ์ ถึงไหนแล้ว ? พราหมณ์ตอบว่า ถึงที่โน้นแล้ว
มันบอกว่า ไปต่อไปอีกหน่อยเถิด สุนัขจิ้งจอกพูดไปเรื่อย ๆ
อย่างนั้น จนลุถึงป่าช้าใหญ่ จึงบอกว่า วางเราลงที่นี่เถิด ครั้น
พราหมณ์ปล่อยมันลงแล้ว หมาจิ้งจอกบอกต่อไปว่า ท่านพราหมณ์
ถ้ากระนั้น ท่านจงปูผ้าสไบอาทิผิด สระเฉียงลงเถิด พราหมณ์ก็ปูผ้าสไบอาทิผิด สระ-
เฉียงของตนลงด้วยความละโมภในทรัพย์ ครั้งนั้นมันก็บอกแกว่า
จงขุดโคนต้นไม้นี้เถิด ให้พราหมณ์ขุดดินลงไป พลางก็ขึ้นไปสู่
ผ้าสไบอาทิผิด สระเฉียงของพราหมณ์ ถ่ายมูตร คูถลงไว้ ๕ แห่ง คือที่มุม
ทั้ง ๔ และตรงกลาง เช็ดเสียด้วย ทำให้เปียกด้วย แล้วโดด
เข้าป่าช้าไป พระโพธิสัตว์สถิตเหนือค่าคบไม้ กล่าวคาถานี้
ความว่า :-
ดูก่อนพราหมณ์ ท่านเชื่ออาทิผิด สุนัขผู้ดื่มสุรา
หรือ เพียงร้อยเบี้ยก็ไม่มี อย่าว่าถึง ๒๐๐ กหาปณะ
เลย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺทหาสิ แปลว่า หลงเชื่อ.
อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะอย่างนี้แหละ แต่มีความว่า เชื่อถือ.
 
๕๖/๑๑๓/๔๒๙

วันเสาร์, เมษายน 12, 2568

Akappiya

 
อนึ่ง วิหาร วิหารวัตถุ อารามและอารามวัตถุ ก็พึงแลกกับวิหาร-
วัตถุ ที่มีราคามากก็ตาม มีราคาน้อยก็ตาม โดยนัยนี้เหมือนกันฉะนี้แล พึง
ทราบการแลกถาวรวัตถุกับถาวรวัตถุอย่างนี้ก่อน.
ส่วนวินิจฉัยในการแลกครุภัณฑ์กับครุภัณฑ์ พึงทราบดังต่อไปนี้:-
เตียงตั่งจะใหญ่หรือเล็กก็ตาม โดยที่สุดมีเท้าเพียง ๔ นิ้ว แม้ที่พวกเด็ก
ชาวบ้านซึ่งยังเล่นในโรงฝุ่นทำ ย่อมเป็นครุภัณฑ์ จำเดิม แต่เวลาที่ถวาย
สงฆ์แล้ว.
แม้ถ้าพระราชาและราชมหาอมาตย์เป็นต้น ถวายเพียงคราวเดียวเท่า
นั้น ทั้งร้อยเตียงหรือพันเตียง, เตียงที่เป็นกัปปิยะอาทิผิด สระทั้งหมดพึงรับไว้. ครั้นรับ
แล้วพึงแจกตามลำดับผู้แก่ ว่า ท่านจงใช้สอยโดยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. อย่า
ให้เป็นส่วนตัวบุคคล. แม้จะตั้งเตียงที่เกินไว้ในเรือนคลังเป็นต้นแล้ว เก็บบาตร
จีวร ก็ควร.
เตียงที่เขาถวายนอกสีมา ว่า ข้าพเจ้าถวายแก่สงฆ์ ดังนี้ พึงให้ไว้ใน
สถานที่อยู่ของพระสังฆเถระ. ถ้าในสถานที่อยู่ของพระสังฆเถระนั้น มีเตียงมาก,
ไม่มีการที่ต้องใช้เตียง ; ในสถานที่อยู่ของภิกษุใด มีการที่ต้องใช้เตียง, พึง
ให้ไว้ในสถานที่อยู่ของภิกษุนั้นสั่งว่า ท่านจงใช้สอยเป็นเครื่องใช้สอยของสงฆ์.
เตียงมีราคามาก คือ ตีราคาตั้งร้อยหรือพันกหาปณะ จะแลกเตียงอื่น
ย่อมได้ตั้งร้อยเตียง ควรแลกเอาไว้. มิใช่แต่เตียงเดียวเท่านั้น แม้อาราม
อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ ตั่ง ฟูกและหมอน ก็ควรแลก. แม้ในตั่งฟูกและ
หมอนก็นัยนี้ . แม้ในเตียงตั่งฟูกหมอนเหล่านี้ สิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ในกัปปิยะและอกัปปิยะอาทิผิด อักขระนั้น ที่เป็นอกัปปิยะไม่ควรใช้สอย. ที่เป็น
กัปปิยะ พึงใช้สอยเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์. ที่เป็นอกัปปิยะหรือที่เป็นกัปปิยะมี
 
๙/๓๓๖/๒๑๕

วันศุกร์, เมษายน 11, 2568

Khema

 
พึงใช้ตราชู เมื่อจะตวงข้าวเปลือก พึงใช้เครื่องตวง ตราชูเป็นมาตรฐาน
ในการชั่ง และเครื่องตวงเป็นมาตรฐานในการตวง ด้วยประการดังนี้
ฉันใด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นเครื่องชั่ง เป็นเครื่องตวง สำหรับ
เหล่าภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ยึดท่านทั้งสองนั้น จึงอาจที่จะชั่งหรือตวง
คนว่า แม้เราก็เท่ากัน ทางญาณ หรือทางฤทธิ์ นอกไปจากนี้ไม่อาจจะ
ชั่งหรือตวงได้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น

แม้ในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . แต่ในสูตรนี้ แยกกัน
ดังนี้.
บทว่า เขมา จ ภิกฺขุนี อุปฺปลวณฺณา จ ความว่า ก็บรรดา
ภิกษุณี ๒ รูปนั้น ภิกษุณีเขมาอาทิผิด อักขระเสิศทางปัญญา ภิกษุณีอุบลวรรณาเลิศทาง
ฤทธิ์ ฉะนั้น เมื่อขอโดยชอบ พึงขอว่า ขอเราจงเป็นแม้เช่นนี้ ทาง
ปัญญาก็ตาม ทางฤทธิ์ก็ตาม แม้อุบาสิกาขุชชุตตราก็เลิศเพราะมีปัญญามาก
นันทมารดาเลิศเพราะมีฤทธิ์มาก เพราะฉะนั้น เมื่อขอโดยชอบ พึงขอว่า
ขอเราจงเป็นแม้เช่นนี้ ทางปัญญาก็ตาม ทางฤทธิ์ก็ตาม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น

อรรถกถาสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ขตํ ความว่า ชื่อว่าถูกกำจัด เพราะถูกกำจัดคุณความดี.

๑. พระสูตรข้อ ๓๗๘ ว่านางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา.
 
๓๓/๓๘๕/๔๗๒

คลังบทความของบล็อก