วันพุธ, เมษายน 09, 2568

Charoen

 
เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
เมตตา เป็นจิตกว้างขวาง เป็นมหัคคตะ มีสัตว์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
มีใจประกอบด้วยกรุณา. . . มีใจประกอบด้วยมุทิตา. . . มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือน
กัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา เป็นจิตกว้างขวางถึงความเป็นใหญ่ มีสัตว์หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ใน
ที่ทุกสถาน.
คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ความ
ว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา จึงไม่มีความ
เกลียดชังสัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวันตก ในทิศใต้ ใน
ทิศเหนือ ในทิศอาคเนย์ ในทิศหรดี ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ
เบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ในทิศใหญ่ ในทิศน้อย เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา
เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา เพราะเป็นผู้เจริญอาทิผิด อักขระ อุเบกขา จึงไม่มีความเกลียดชัง
สัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ฯ ล ฯ ในทิศน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง.
[๖๙๑] คำว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และไม่ถึงความแสวงหาผิด
อันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งจีวร เมื่อไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง (ไม่ขวนขวาย)
เมื่อได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มี
 
๖๗/๖๙๐/๕๔๐

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก