วันจันทร์, เมษายน 07, 2568

Trong

 
รอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์. ดวงอาทิผิด อักขระอาทิตย์มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕๐ โยชน์ เส้น
รอบวงยาว ๒๕๐ โยชน์.
ดวงจันทร์อยู่ข้างล่าง พระอาทิตย์อยู่ข้างบน. ดวงจันทร์และ
ดวงอาทิตย์นั้นอยู่ห่างกันโยชน์หนึ่ง. จากส่วนล่างของพระจันทร์ถึงส่วน
บนของดวงอาทิตย์ มีระยะ ๑๐๐ โยชน์.
ดวงจันทร์หมุนไปทางด้านตรงอาทิผิด สระช้า แต่หมุนไปทางด้านขวางเร็วหมู่
ดาวนักษัตรก็หมุนไปในสองด้าน ดวงจันทร์หมุนไปใกล้หมู่ดาวนั้น ๆ เหมือน
แม่โคเข้าไปหาลูกโคฉะนั้น. ส่วนหมู่ดาวไม่ทิ้งที่อยู่ของตนเลย. การหมุน
ไปของดวงอาทิตย์ทางตรงเร็ว ไปทางขวางช้า. ดวงอาทิตย์นี้โคจรห่าง
ดวงจันทร์แสนโยชน์ ในวันปาฏิบทจากวันอุโบสถกาฬปักษ์. เวลานั้น
ดวงจันทร์ปรากฏเหมือนรอยเขียนฉะนั้น. ดวงอาทิตย์โคจรห่างไปเป็น
ระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์ได้โคจรห่างไป ดังที่กล่าวแล้วนี้
เป็นระยะแสนๆ โยชน์จนถึงวันอุโบสถ . ลำดับนั้นดวงจันทร์ก็ใหญ่ขึ้นโดย
ลำดับ ไปเต็มดวงในวันอุโบสถ. โคจรห่างออกไปแสนโยชน์ในวันปาฏิบท
อีก. โคจรห่างออกไปเป็นระยะแสนโยชน์ในปักษ์ที่ ๒ ดวงอาทิตย์โคจร
ห่างไปดังกล่าวแล้วนี้เป็นระยะสิ้น ๆ โยชน์จนถึงอุโบสถ. ทีนั้นดวง
จันทร์อับแสงลงโดยลำดับแล้วไม่ปรากฏทั้งดวงในวันอุโบสถ. ดวงอาทิตย์
ลอยอยู่เบื้องบนให้ดวงจันทร์อยู่เบื้องล่างย่อมปกปิดดวงจันทร์ไว้ได้ เหมือน
ภาชนะเล็กถูกถาดใหญ่ปิดไว้ฉะนั้น. เงาของดวงจันทร์ไม่ปรากฏเหมือน
เงาเรือนไม่ปรากฏในเวลาเที่ยง. ดวงอาทิผิด อักขระอาทิตย์นั้นเมื่อเงาไม่ปรากฏ แม้ตัว
เองก็ไม่ปรากฏ เหมือนประทีปในกลางวันไม่ปรากฏแก่หมู่ชนผู้ยืนอยู่
ไกลฉะนั้น.
ก็พึงทราบวินิจฉัยใน คำว่าวิถีของอาทิตย์และดวงจันทร์เป็น
อย่างไร ต่อไปนี้วิถีมีดังนี้คือวิถีแพะ วิถีช้าง วิถีของโค. บรรดาวิถี
 
๑๕/๗๒/๑๗๙

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก