อาสนะนี้ ดีฉันบริจาคแก่ท่านแล้ว ขอได้โปรดใช้สอยเพื่ออนุเคราะห์
ดีฉันอาทิผิดด้วยเถิดเจ้าค่ะ. พระเถระรับตั่งนั้น เพื่ออนุเคราะห์นาง แล้วให้
ถวายแก่สงฆ์. สมัยต่อมา นางเป็นโรคอย่างหนึ่งตายไปบังเกิดในภพ
ดาวดึงส์. คำดังกล่าวมาเป็นต้นทั้งหมด พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว
ในกถาพรรณนาปฐมวิมานนั้นแล. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโมคคัลลานะ
จึงถามว่า
ดูก่อนเทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรง
พัสตราภรณ์อันสวยงาม วิมานตั่งทองของท่านโอฬาร
เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ท่านส่องแสงประกาย
คล้ายสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ เพราะบุญอะไร
วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึง
สำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.
ดูก่อนเทพี ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญ
อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ
ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.
เทวดาองค์นั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม
แล้ว ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล
อย่างนี้ว่า
นี้เป็นผลของกรรมเล็กน้อยของดิฉันอันเป็นเหตุ
ให้ดีฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ครั้งเกิดเป็นมนุษย์
ในหมู่มนุษย์ในชาติก่อน ในมนุษยโลก ดีฉันได้พบ
๔๘/๓/๔๔

นั้นก็ดับไป เหมือนคบไฟที่เขาจุ่มลงในน้ำฉะนั้น ไม่อาจท่วมทับที่ประมาณ
๓๒ กรีส โดยการแลบเข้าไป. ภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวคุณของพระศาสดาว่า
น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ไฟนี้ไม่มีจิตใจ
ยังไม่อาจท่วมทับที่ที่พระพุทธเจ้าประทับ ยืน ย่อมดับไป เหมือนคบเพลิงหญ้า
ดับด้วยน้ำฉะนั้น น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พระ
ศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่ไฟนี้ถึงภูมิประเทศนี้แล้วดับไป เป็นกำลังของเราในบัดนี้เท่านั้น หามิได้
ก็ข้อนี้เป็นกำลังแห่งสัจจะอันมีในก่อนของเรา ด้วยว่าในประเทศที่นี้ ไฟจัก
ไม่ลุกโพลงตลอดกัปนี้ แม้ทั้งสิ้น นี้ชื่อว่าปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป. ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น เพื่อต้องการเป็นที่ประทับนั่งของพระ-
ศาสดา พระศาสดาประทับนั่งขัดสมาธิ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ก็ถวายบังคมพระตถาคต
แล้วนั่งแวดล้อมอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาอันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ปรากฏแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายก่อน ส่วน
เรื่องอดีตยังลี้ลับอาทิผิด ขอพระองค์โปรดกระทำเรื่องอดีตนั้น ให้ปรากฏแก่ข้าพระองค์
ทั้งหลาย จึงทรงนำเรื่องอดีตมา ดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล ในประเทศนั้นนั่นแหละในแคว้นมคธ พระโพธิสัตว์ถือ
ปฏิสนธิในกำเนิดนกคุ่ม เกิดจากท้องอาทิผิด อักขระมารดา ในเวลาทำลายกะเปาะฟอง
ไข่ออกมา ได้เป็นลูกนกคุ่มมีตัวประมาณเท่าดุมเกวียนบรรทุกสินค้าขนาด
ใหญ่. ลำดับนั้น บิดามารดาให้พระโพธิสัตว์นั้นนอนในรัง แล้วนำอาหาร
มาเลี้ยงดูด้วยจะงอยปาก. พระโพธิสัตว์นั้น ไม่มีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไป
ในอากาศ หรือไม่มีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปบนที่ดอนอาทิผิด และไฟป่าย่อมไหม้
ประเทศนั้นทุกปี ๆ. สมัยแม้นั้น ไฟป่านั้นก็ไหม้ประเทศนั้น เสียงดังลั่น.
๕๕/๓๕/๓๔๓

๑๑. . . . มีจำนวนเท่ากัน
๑๒. . . . มีจำนวนน้อยกว่า. . .
๑๓. . . .บริษัทลุกไปหมดแล้ว ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง
มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวดปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
๑๔. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .
๑๕. . . . จำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้วก็เป็นอันสวดดีแล้ว
พวกภิกษุผู้มาทีหลัง พึงบอกปาริสุทธิในสำนักของพวกเธอ พวกภิกษุผู้สวด ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
ฝืนใจอาทิผิด อักขระทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ จบ
มุ่งความแตกร้าวทำอุโบสถ ๑๕ ข้อ
[๑๙๕] ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในอาวาสแห่งหนึ่ง ถึงวันอุโบสถ
มีภิกษุเจ้าถิ่นในศาสนานี้มากรูปด้วยกัน แต่ประชุมกัน ๔ รูปบ้าง เกินกว่าบ้าง
พวกเธอรู้อยู่ว่า ยังมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นที่ยังไม่มาและมุ่งความแตกร้าวว่า ขอ
ภิกษุเหล่านั้นจงเสื่อมสูญ ขอภิกษุเหล่านั้นจงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยภิกษุ
เหล่านั้น ดังนี้ จึงทำอุโบสถ สวดปาติโมกข์ เมื่อพวกเธอกำลังสวดปาติโมกข์
ขณะนั้นมีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนมากกว่า ภิกษุเหล่านั้นต้องสวด
ปาติโมกข์ใหม่ พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
๒. . . . ขณะนั้น มีภิกษุเจ้าถิ่นพวกอื่นมาถึง มีจำนวนเท่ากัน. . .
๓. . . .มีจำนวนน้อยกว่า ปาติโมกข์ที่สวดแล้ว ก็เป็น อันสวดดีแล้ว
พวกภิกษุที่มาทีหลัง พึงฟังส่วนที่เหลือต่อไป พวกภิกษุผู้สวด ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย.
๖/๑๙๕/๔๙๓

บทว่า ภตฺตุ คือ สามี. บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่ อาศัย
ความเอ็นดู. บทว่า ปุพฺพุฏฺฐายินิโย ได้แก่ ปกติตื่นก่อนเขาหมด. บทว่า
ปจฺฉานปาตินิโย ได้แก่ ปกตินอนหลังเขาหมด. ก็หญิงบริโภคแล้วขึ้นที่
นอน นอนก่อนไม่ควร. แต่ให้คนในครัวเรือนทั้งหมดบริโภคแล้ว จัดสิ่งของ
ที่เป็นอุปกรณ์ รู้ว่าโคเป็นต้นที่มาแล้วและยังไม่มา สั่งการงานที่จะพึงทำใน
วันรุ่งขึ้น ถือลูกกุญแจไว้ในมือ ถ้าอาหารมีก็บริโภค ถ้าไม่มีก็ให้คนอื่นหุงหา
แล้วเลี้ยงคนทั้งหมดให้อิ่ม แล้วนอนในภายหลังจึงควร. แม้นอนแล้ว จะนอน
จนตะวันขึ้นก็ไม่ควร แต่ลุกก่อนเขาทั้งหมดแล้ว ให้เรียกทาสและคนงานมา
แล้วสั่งงานว่า ท่านจงทำงานอันนี้ ๆ ให้รีดนมแม่โค ทำกิจที่ควรทำทั้งหมด
ในเรือนไว้เป็นพนักงานของตนจึงควร. พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึงข้อความ
นั้น จึงตรัสว่า ปุพฺพฺฏฺฐายินิโย ปจฺฉานิปาตินิโย ตื่นก่อนนอนหลัง
ดังนี้.
บทว่า กึการปฏิสฺสาวินิโย ความว่า มีปกติมองหน้ากันแล้ว
ตรวจดูว่า เราจะทำอะไร เราจะทำอะไรดังนี้. บทว่า มนาปจาริณิโย
ได้แก่ ปกติทำกิริยาแต่ที่น่าพอใจ. บทว่า ปิยวาทินิโย ได้แก่ พูดแต่ถ้อยคำ
ที่น่ารัก. บทว่า ปูชิสฺสาม ได้แก่ บูชาด้วยปัจจัย ๔. บทว่า อพฺภาคเต
ได้แก่ ท่านผู้มาถึงสำนักของตน. บทว่า อาสโนทเกน ปฏิปูเชสฺสาม
ความว่า ต้อนรับด้วยอาสนะและน้ำล้างเท้า. แต่ในข้อนี้ ควรทำสักการะทุกวัน
แก่มารดาบิดา. ส่วนสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มาถึงแล้วควรถวายอาสนะน้ำล้าง-
เท้าและควรทำสักการะ.
บทว่า อุณฺณา คือ ขนแกะ. บทว่า ตตฺถ ทกฺขา ภวิสฺสาม
ความว่า จักเป็นผู้ฉลาดในการสางและซัก การย้อมและจัดให้เป็นฟ่อนสำหรับ
ขนแกะทั้งหลาย และในการปั่น แผ่ ยี และกรอเป็นต้นสำหรับฝ้ายอาทิผิด อาณัติกะ. บทว่า
๓๖/๓๓/๗๖

[๓๐๘] พระเจ้าพกะและพระเจ้าพาวรีย์ ทรง
หมกมุ่นอยู่ในกามเกินส่วน พระมเหสียังประพฤติ
อนาจารกับคนใช้ใกล้ชิด ซ้ำตกอยู่ในอำนาจ พึงมี
หรือที่หญิงจะไม่ประพฤติล่วงชายอื่น นอกจากคนนั้น.
[๓๐๙] พระนางปิงคิยานีพระมเหสีที่รักของ
พระเจ้าพรหมทัตผู้เป็นใหญ่ในโลกทั้งปวง ได้ประพฤติ
อนาจารกับคนเลี้ยงม้าผู้ใกล้ชิด และเป็นไปในอำนาจ
พระนางปิงคิยานีผู้ใคร่กามนั้น ไม่ได้ประสบความใคร่
ทั้งสองราย.
[๓๑๐] บุรุษผู้ไม่ถูกผีสิง ไม่ควรเชื่อหญิง
ทั้งหลายผู้หยาบช้า ใจเบา อกตัญญู ประทุษร้ายมิตร
หญิงเหล่านั้นไม่รู้จักสิ่งที่กระทำแล้ว สิ่งที่ควรกระทำ
ไม่รู้อาทิผิด อาณัติกะจักมารดาบิดาหรือพี่น้อง ไม่มีละอายอาทิผิด อักขระ ล่วงเสีย
ซึ่งธรรม ย่อมเป็นไปตามอำนาจจิตของตน เมื่อมี
อันตราย และเมื่อกิจเกิดขึ้น ย่อมละทิ้งสามีอาทิผิด สระแม้จะอยู่
ด้วยกันมานาน เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่อนุเคราะห์
แม้อาทิผิด อาณัติกะเสมอกับชีวิต เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่วิสาสะกับ
หญิงทั้งหลาย จริงอยู่ จิตของหญิงเหมือนจิตของวานร
ลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนเงาไม้ หัวใจของหญิงไหวไป
ไหวมา เหมือนล้อรถที่กำลังหมุน เมื่อใด หญิงทั้งหลาย
ผู้มุ่งหวัง เห็นทรัพย์ของบุรุษที่ควรจะถือเอาได้ เมื่อนั้น
ก็ใช้วาจาอ่อนหวานชักนำบุรุษไปได้ เหมือนชาว
๖๒/๓๑๐/๕๒๗

ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับแล้วในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ โทษ และ
อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งคุณ
โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา... แห่งสัญญา...
แห่งสังขาร... แห่งวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่า อวิชชา และ
บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยอวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
[๓๒๙] เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่าน-
พระสารีบุตรจึงได้ถามว่า ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า วิชชา วิชชา
ดังนี้ วิชชาเป็นไฉนหนอแล และบุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ?
ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้
สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งคุณ โทษ
และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ซึ่งคุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา... แห่งสัญญา...
แห่งสังขาร... แห่งวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ นี้เรียกว่าวิชชา และ
บุคคลเป็นผู้ประกอบด้วยวิชชา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
จบ โกฏฐิตสูตรที่ ๑
๙. โกฏฐิตสูตรที่ ๒
ว่าด้วยความหมายของอวิชชา - วิชชา
[๓๓๐] เหตุเกิด (แห่งพระสูตร) ก็เป็นเช่นนั้นแล. ท่านพระสารีบุตร
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะอาทิผิด สระว่า
ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ที่เรียกว่า อวิชชา อวิชชา ดังนี้ อวิชชาเป็นไฉน
๒๗/๓๓๐/๓๙๗

ธรรมเหล่านี้. คำว่า และกำลังสำเหนียกอยู่ในนี้ คือกำลังศึกษาในธรรม
เหล่านี้. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้. ส่วนความยาว มหาโควินท์ และพรหม
ได้กล่าวไว้ข้างบนเสร็จแล้วแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ไม่รู้สิ่งเหล่านี้ มีความว่า ข้าพเจ้า
ไม่รู้ ไม่เข้าใจกลิ่นสกปรกเหล่านี้. บทว่า ธีระ ท่านจงกล่าวในที่นี้ ความ
ว่า ธีระ คือนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้น ท่านจงกล่าว คือจงบอกข้าพเจ้า
ในที่นี้. คำว่า หมู่สัตว์ถูกอะไรห่อหุ้มไว้จึงมีกลิ่นเน่าเหม็นฟุ้งไป
ความว่า สัตว์ถูกเครื่องกางกั้น คือกิเลสเป็นไฉนห่อหุ้มไว้จึงเน่าเหม็นฟุ้งไป
คำว่า สัตว์อบาย ได้แก่สัตว์ที่เข้าถึงอบาย. บทว่า ปิดพรหมโลก
คือ ชื่อว่า ปิดพรหมโลกแล้วเพราะพรหมโลกของเขาถูกหุ้มไว้ คือถูกปิดแล้ว.
มหาโควินท์ถามว่า หมู่สัตว์ถูกกิเลสอะไรห่อหุ้ม คือปิดได้แก่ปกปิดทาง
พรหมโลกเล่า มหาพรหมตอบว่า ความโกรธ การกล่าวเท็จ ความ
หลอกลวง ความประทุษร้าย เป็นต้น ความโกรธมีความฉุนเฉียวเป็นลักษณะ
การกล่าวเท็จมีการกล่าวให้คลาดเคลื่อนกับคนอื่นเป็นลักษณะ ความหลอกลวง
มีการแสดงสิ่งที่เหมือนกันแล้วลวงเอาเป็นลักษณะ และความประทุษร้ายมีการ
ทำลายมิตรเป็นลักษณะ. คำว่า ความตระหนี่ การดูหมิ่น ความริษยา
ความว่า ความตระหนี่มีความกระด้างและความเหนียวแน่นเป็นลักษณะ การ
ดูหมิ่นมีการเหยียบย่ำแล้วดูถูกเป็นลักษณะ และความริษยามีความสิ้นไปแห่ง
สมบัติคนอื่นเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยาก ความอยากแปลก ๆ และ
ความเบียดเบียนผู้อื่น ความว่า ความอยากมีความทะยานอาทิผิด สระอยากเป็นลักษณะ
ความหวงแหนมีความตระหนี่เป็นลักษณะ และความเบียดเบียนผู้อื่นมีการทำให้
ลำบากเป็นลักษณะ. บทว่า ความอยากได้ ความประทุษร้าย ความเมา
และความหลง คือ ความอยากได้ มีความโลภเป็นลักษณะ ความประทุษ
๑๔/๒๓๔/๖๓

ด้วยกรณียกิจบางอย่างแล. เมื่อรอคอยกาลเล็กน้อย แล้วนำภิกษุเหล่านั้น
กลับมาอีก ฝ่ายภิกษุนอกนี้ก็หลีกไป. การประชุมโดยการนำมาบ่อย ๆ
อย่างนี้ ได้มีโดยกาลนานทีเดียว. ก็ในกาลนั้น พระเถระได้อยู่แต่รูปเดียว.
บทว่า ทสวคฺคํ ภิกฺขุสงฺฆํ สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ในกาลนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยสงฆ์ทสวรรคเท่านั้น แม้ใน
ปัจจันตประเทศ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระเถระทูลวิงวอนถึง
เหตุอุปสมบทนี้ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท ในปัจจันตประเทศด้วยสงฆ์
ปัญจวรรค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ติณฺณํ วสฺสานํ ฯ เป ฯ
สนฺนิปาเตตฺวาอาทิผิด สระ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า วสฺสํ วุฏฺฐสฺส ได้แก่ ผู้อุปสมบทแล้วเข้าพรรษาต้นแล้ว
ออก. บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเราได้
ฟังมาว่า เห็นปานนี้ ๆ คือ ทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติ และรูปกาย-
สมบัติเห็นปานนี้ และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้ ด้วยคำว่า
น โข เม โส ภควา สมฺมุขา ทิฏฺโฐ นี้ อาจารย์ทั้งหลายหมายเอาความ
เป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่าท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า แต่ภายหลังเธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา
ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ จึงทำไว้ในใจให้มีประโยชน์ถึง
พระสูตร ๑๖ เป็นวรรค ๘ วรรค เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้ว
ประมวลมาไว้ในใจทั้งหมด เป็นผู้รู้แจ้งอรรถและธรรม เมื่อจะกล่าวเป็น
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม ในเวลาจบ
สรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ
ก็เพื่อประโยชน์นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งให้เธออยู่ในพระ-
๔๔/๑๒๒/๕๕๗

บทว่า เอวํ เป็นต้น ความว่า กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ตั้งขึ้น
ซ้อน ๆ กัน ย่อมครอบงำบุรุษนั้นผู้ไม่สามารถว่ายอาทิผิด อักขระข้ามมหาสมุทรนั้นไปได้
ฉันใด ชาติและชราก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำ คือย่อมย่ำยีท่านผู้ถูกความ
เกียจคร้านครอบงำ.
บทว่า โส กโรหิ ความว่า ดูก่อนกาติยานะ ท่านจงกระทำเกาะ
ที่ดี กล่าวคือพระอรหัตผลที่โอฆะทั้ง ๔ ท่วมทับไม่ได้แก่ตน คือจงให้
เกิดขึ้นในสันดานของตน.
ศัพท์ว่า หิ ในบทว่า น หิ ตาณํ ตว วิชฺชเตว อญฺญํ เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถว่า เหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ชื่อว่าที่พึ่งของท่านอื่นจาก
พระอรหัตผลนั้น ย่อมไม่ได้ในโลกนี้หรือโลกหน้า ฉะนั้น ท่านจงกระทำ
เกาะที่ดีคือพระอรหัตผลนั้น.
บทว่า สตฺถา หิ วิเชสิ มคฺคเมตํ ความว่า พระศาสดาทรงครอบงำ
เทวปุตตมารเป็นต้นแล้วตรัสบอก คือทำอริยมรรคที่เป็นตัวเหตุแห่งเกาะ
ที่ดีนั้น อันล่วงพ้นจากกิเลสเครื่องข้อง ๕ ประการ และจากภัยมีชาติ
เป็นต้น ซึ่งพวกอัญญเดียรถีย์จำนวนมากไม่อาจให้สำเร็จต้องพ่ายแพ้นั้น
ให้สำเร็จแก่ท่าน. เพราะเหตุที่ของที่มีอยู่ของพระศาสดา สาวกควรครอบ-
ครอง ไม่ควรละทิ้ง เพราะฉะนั้น เพื่อจะครอบครองของที่เป็นของ
พระศาสดานั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดราตรีก่อนและราตรีหลัง คือ
ตลอดยามต้นและยามหลัง คือจงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ หมั่นประกอบ
ความเพียรและการเจริญภาวนาให้มั่นคงไว้.
บทว่า ปุริมานิ ปมุญฺจ พนฺธนานิ ความว่า ท่านจงปล่อย คือละ
เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เครื่องผูกคือกามคุณที่มีอยู่ในกาลก่อน คือ
๕๒/๓๕๓/๑๙๑

บริบูรณ์แล้ว ด้วยนางแก้ว และแก้วมณี. พระเจ้าจักรพรรดิทรงเสวย
ความสุขอันเกิดจากโภคสมบัติ ด้วยนางแก้ว และแก้วมณี ทรงเสวย
ความสุขอันเกิดจากความเป็นใหญ่ด้วยรัตนะทั้งหลายที่เหลือ. อนึ่ง พึง
ทราบโดยแปลกออกไปอีก ดังนี้ รัตนะ ๓ อันแรก สำเร็จได้ด้วยอานุภาพ
แห่งกรรมที่กุศลมูล คือความไม่ประทุษร้ายให้เกิดขึ้น รัตนะท่ามกลาง
สำเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่กุศลมูล คือความไม่โลภให้เกิดขึ้น รัตนะ
อันหนึ่งสุดท้าย สำเร็จได้ด้วยอานุภาพแห่งกรรม อันกุศลมูลคือความ
ไม่หลงให้เกิดขึ้น. ในที่นี้กล่าวเป็นเพียงสังเขปเท่านั้น. ส่วนความพิสดาร
พึงถือเอาจากอุปเทศแห่งรัตนสูตร ในโพชฌงคสังยุต.
บทว่า มีจำนวน ๑,๐๐๐ เป็นเบื้องหน้า คือเกินกว่า ๑,๐๐๐. บทว่า
ผู้กล้าหาญ คือผู้ไม่หวั่นเกรงใคร. บทว่า มีรูปร่างองอาจ คือมีร่างกาย
เช่นกับเทวบุตร. อาจารย์บางพวกพรรณนาไว้ดังนี้ก่อน. แต่ในที่นี้มีสภาวะ
ดังต่อไปนี้. ผู้ที่กล้าหาญที่สุด ท่านเรียกว่า วีระ. องค์ของผู้กล้าหาญชื่อ
วีรังคะ คือเหตุแห่งความกล้าหาญ. อธิบายว่า ความเป็นผู้แกล้วกล้า.
รูปร่างอันองอาจของคนอาทิผิด อักขระเหล่านั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า
มีรูปร่างองอาจ. อธิบายว่า ประหนึ่งว่า มีสรีระร่างอันหล่อหลอมด้วย
ความแกล้วกล้าอาทิผิด .
บทว่า ย่ำยีเสียได้ซึ่งทหารของข้าศึก มีอธิบายว่า ถ้าเหล่าทหาร
ของข้าศึก พึงยืนเผชิญหน้ากัน เขาก็สามารถที่จะย่ำยีเสียได้ซึ่งข้าศึกนั้น.
บทว่า โดยธรรม คือโดยธรรม คือศีล ๕ ที่มีว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์เป็นต้น.
ในบทนี้ว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ
กิเลสอาทิผิด สระอันเปิดแล้วในโลก มีใจความว่า เมื่อความมืดคือกิเลสปกคลุมอยู่
๑๑/๑๗๗/๕๔๓
วรรคที่ ๔
ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิศอาทิผิด อักขระ ๑๒ ท่าน
[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของ
เราผู้เป็นพหูสูต.
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีสติ.
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีคติอาทิผิด อักขระ.
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีความเพียร.
พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นอุปัฏฐากอาทิผิด .
พระอุรุเวลกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีบริษัท
มาก.
พระกาฬุทายี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทำสกุลให้
เลื่อมใส.
พระพักกุละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีอาพาธน้อย.
พระโสภิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ระลึกชาติก่อนได้.
พระอุบาลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย.
พระนันทกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนนาง
ภิกษุณี.
พระนันทะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย.
พระมหากัปปินะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอน
ภิกษุ.
๓๒/๑๔๙/๔๔๑

ควรจะตรัสว่า สมฺมทญฺญาย วิมุตฺตา แต่ก็ตรัสเสียว่า สมฺมทญฺญา
วิมุตฺตา และเหมือนเมื่อควรจะตรัสว่า อนุปุพฺพสิกฺขาย อนุปุพฺพกิริยาย
อนุปุพฺพปฏิปทาย แต่ก็ตรัสเสียว่า อนุปุพฺพสิกฺขา อนุปุพฺพกิริยา
อนุปุพฺพปฏิปทา อญฺญาราธนา ฉะนั้น. บทว่า นาญฺญมญฺญสฺส
ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน. ท่านอธิบายไว้
อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่ามิใช่เจริญเมตตา โดยมนสิการเป็นต้นว่า ขอสัตว์
ทั้งหลายจงมีสุข มีความเกษมเถิดดังนี้อย่างเดียว ที่แท้พึงมนสิการอย่างนี้ว่า
โอหนอ บุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ไม่พึงข่มเหงบุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ด้วย
กิริยาคดอาทิผิด อักขระโกงมีล่อลวงเป็นต้น ไม่พึงดูหมิ่นบุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ไม่ว่าในประเทศ
ไหน ๆ ด้วยวัตถุแห่งมานะ ๙ อย่าง มีชาติเป็นต้น และไม่พึงปรารถนาทุกข์
แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธหรือเพราะความคุมแค้น ดังนี้อีกด้วย.
พรรณนาคาถาที่ ๗
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยอรรถด้วย
ปรารถนาให้เขาออกไปจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์และทุกข์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
ทรงแสดงเมตตาภาวนานั้นนั่นแลด้วยอุปมา จึงตรัสว่า มาตา ยถา นิยํ
ปุตฺตํ เป็นต้น.
คาถานั้นมีความว่า มารดาพึงอนุรักษ์บุตรในตน คือบุตรที่เกิดใน
ตน เกิดแต่อก พึงทะนุถนอมบุตรนั้นซึ่งมีคนเดียวเท่านั้นด้วยชีวิต คือยอม
สละแม้ชีวิตของตนถนอมบุตรนั้น เพื่อห้ามกันทุกข์มาถึงบุตรนั้น ฉันใดภิกษุ
พึงทำมนัสที่ประกอบด้วยเมตตานี้ให้เจริญ คือให้เกิดบ่อย ๆ ให้ขยายไปและยัง
เมตตาภาวนานั้นให้เจริญไม่มีประมาณ โดยถือสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์
หรือโดยแผ่ไปไม่เหลือเลย แม้แต่ในสัตว์ผู้หนึ่ง.
๓๙/๑๐/๓๕๑

ดุจหลั่งอาทิผิด อักขระออกซึ่งน้ำสีทองคำ ดุจคลี่ออกซึ่งแผ่นผ้าทองคำ และดุจเกลื่อน-
กล่นไปด้วยผงหญ้าฝรั่น และดอกกรรณิการ์.
รัศมีสีแดง ย่อมซ่านออกจากพระมังสะแลพระโลหิต และ
จากที่สีแดงแห่งพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีแดงอาทิผิด อักขระ ทิศาภาค ย่อม
รุ่งโรจน์ดุจย้อมอาทิผิด อาณัติกะด้วยผงชาดอาทิผิด อักขระ ดุจหลั่งอาทิผิด อักขระออกซึ่งน้ำสีครั่งที่สุกปลั่ง ดุจวงด้วย
ผ้ากัมพลสีแดง และเกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้สีแดง คือ ดอกอาทิผิด อักขระชัยพฤกษ์
ดอกทองหลาง และดอกชบาอาทิผิด สระ.
รัศมีสีขาว ย่อมซ่านออกจากพระอัฐิ พระทนต์ และจากที่
สีแดงของพระเนตร, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีขาว ทิศาภาค ย่อมรุ่งโรจน์
ดุจกระจัดกระจายด้วยสายน้ำมันอันไหลอาทิผิด สระออกจากหม้อเงิน ดุจลาด
เพดานด้วยแผ่นเงินไว้ ดุจก้านตาลเงินหล่นลงมา และดุจดาดาษ
ด้วยดอกไม้ ดอกมะลิวัลย์ ดอกโกมุท ดอกไม้ยางทราย ดอกมะลิ
และดอกมะลิซ้อน.
รัศมีสีแสด ย่อมซ่านออกจากที่สีแดงอ่อน มีฝ่าพระหัตถ์และ
ฝ่าพระบาทเป็นต้น, ด้วยอำนาจแห่งรัศมีสีแสด ทิศาภาค ย่อมรุ่งโรจน์
ดุจวงไว้ด้วยตาข่ายแก้วประพาฬ และดุจเกลื่อนกลาดด้วยจุณสำหรับ
อาบสีแดง และดอกคำ.
รัศมีสีเลื่อมประภัสสร ย่อมซ่านออกจากที่สีเลื่อมประภัสสร
มีพระอุณาโลม พระทาฐะและพระนขาเป็นต้น, ด้วยอำนาจแห่งรัศมี
๖๘/๒๘๔/๑๐๙๗
๖. สสปัณฑิตชาดก
ผู้สละชีวิตเป็นทาน
[๕๖๒] ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามีปลาตะเพียน
อยู่ ๗ ตัว ซึ่งนายพรานตกเบ็ดขึ้นมาจากน้ำ
เอาไว้บนบก ข้าพเจ้ามีอาหารอย่างนี้ ท่าน
จงบริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่
ในป่าเถิด.
[๕๖๓] อาหารของคนอาทิผิด อักขระรักษานาคนโน้น ข้าพเจ้า
นำเอามาไว้ในกลางคืน คือ เนื้อย่าง ๒ ไม้
เหี้ย ๒ ตัว และนมส้ม ๑ หม้อ ดูก่อน
พราหมณ์ ข้าพเจ้ามีอาหารอาทิผิด อักขระอย่างนี้ ท่านจง
บริโภคอาหารนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ใน
ป่าเถิด.
[๕๖๔] ผลมะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาอันเย็น
เป็นที่รื่นรมย์ใจ ดูก่อนพราหมณ์ ข้าพเจ้ามี
อาหารอย่างนี้ ท่านจงบริโภคอาหารนี้ แล้ว
เจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด.
๕๘/๕๖๓/๔๘๑

สัทธิวิหาริกวัตร
[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก
วิธีประพฤติอาทิผิด อักขระชอบในสัทธิวิหาริกนั้น มีดังต่อไปนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะพึงสงเคราะห์ อนุเคราะห์ สัทธิวิหาริก
ด้วยสอนบาลีและอรรถกถา ด้วยให้โอวาทและอนุศาสนี.
ถ้าอุปัชฌายะมีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มีบาตร อุปัชฌายะพึงให้บาตร
แก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตร
พึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก.
ถ้าอุปัชฌายะมีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌายะพึงให้จีวรแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่าด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงบังเกิด
แก่สัทธิวิหาริก.
ถ้าอุปัชฌายะมีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌายะ พึงให้
บริขารแก่สัทธิวิหาริก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
บริขารพึงบังเกิดแก่สัทธิวิหาริก.
ถ้าสัทธิวิหาริกอาพาธ อุปัชฌายะพึงลุกแต่เช้าตรู่ แล้วให้ไม้ชำระฟัน
ให้น้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้.
ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้ว นำยาคูเข้าไปให้ เมื่อสัทธิวิหาริกดื่มยาคู
แล้ว พึงให้น้ำ รับภาชนะมาถือต่ำ ๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้ว
เก็บไว้ เมื่อสัทธิวิหาริกลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
ถ้าสัทธิวิหาริกประสงค์จะเข้าบ้าน พึงให้ผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา
พึงให้ประคดอาทิผิด อักขระเอว พึงพับสังฆาฏิเป็นชั้นให้ พึงล้างบาตรแล้วให้พร้อมทั้งน้ำด้วย
พึงปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ ด้วยกำหนดในใจว่าเพียงเวลาเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับ
๖/๘๒/๑๕๔

ว่า พึงให้พระนางเจรจากับเราได้ ก็มีนัยเหมือนกันนี้ทีเดียว. ส่วนในบทว่า
อุมฺหาเยยฺย ความว่า พึงหัวเราะด้วยการหัวเราะเบา ๆ. บทว่า ปมฺหาเยยฺย
ความว่า พึงหัวเราะด้วยการหัวเราะดัง ๆ.
นางค่อมนั้น ได้ฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอเชิญพระองค์เสด็จกลับไปเถิด อีกประมาณสัก ๒-๓
วัน หม่อมฉันจักกระทำพระนางให้อยู่ในอำนาจของพระองค์ พระองค์คอย
ทอดพระเนตรความพยายามของหม่อมฉันเถิด ดังนี้แล้ว จึงตรวจตราดูหน้าที่
การงานของคนนั้นเสร็จแล้ว จึงไปยังพระตำหนักของพระนางประภาวดี ทำทีอาทิผิด อาณัติกะ
เหมือนว่าปัดกวาดห้องที่ประทับของพระนาง เก็บแม้ก้อนดินที่พอจะใช้ขว้าง
ได้ไม่ให้เหลือเลย โดยที่สุดแม้กระทั่งรองเท้า ก็นำออกไปแล้วเก็บกวาดห้อง
ทั้งหมด จัดตั้งที่นั่งสูงคร่อมระหว่างธรณีประตูห้อง ลาดตั่งต่ำอันหนึ่งเพื่อ
พระนางประภาวดี แล้วทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า เชิญพระแม่เจ้าเสด็จมาเถิด
หม่อมฉันจักหาเหาบนศีรษะของพระแม่เจ้าให้ แล้วเชิญให้พระนางประทับนั่ง
บนตั่งต่ำนั้น วางศีรษะของพระนางไว้ในระหว่างแห่งขาของตนแล้ว เลือกหา
ไข่เหาสักประเดี๋ยวหนึ่งก็ทูลว่า ตายจริง บนศีรษะของพระแม่เจ้านี้ มีเหา
มากมายเหลือเกิน แล้วหยิบเอาเหาจากศีรษะของตน ออกมาวางไว้บนพระหัตถ์
ของพระนาง แล้วทูลด้วยถ้อยคำอันเป็นที่รักว่า ขอพระแม่เจ้าจงทอดพระ-
เนตรเหาบนศีรษะของพระแม่เจ้าซิว่า มีประมาณเท่าไร เมื่อจะกล่าวถึงคุณงาม
ความดีของพระมหาสัตว์เจ้า (พระเจ้ากุสราช) จึงกราบทูลเป็นคาถาว่า
พระราชบุตรีอาทิผิด สระพระองค์นี้ คงไม่ได้ประสบแม้
ความสำราญในสำนักแห่งพระเจ้ากุสราชเสียเลยเป็นแน่
๖๒/๑๓๓/๒๔๓

จะตรัสบอกกำหนดอายุนั้นจักทรงประกาศโทษในการติเตียนพระอริยะ ด้วยเหตุ
นี้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลเรื่องนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
กระทำอย่างนั้น. แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ได้ทูลถามขึ้น. ครั้นภิกษุรูปนั้นทูลถามแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงอาทิผิด สระตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วีสติขาริโก ๒๐ ขาริ คือ ๔ ปัตถะโดย
ปัตถะของชาวมคธ เป็น ๑ ปัตถะในแคว้นโกศล, โดยปัตถะนั้น ๔ ปัตถะเป็น
๑ อาฬหกะ, ๔ อาฬหกะเป็น ๑ โทณะ, ๔ โทณะเป็น ๑ มาณิกะ, ๔ มาณิกะ
เป็น ๑ ขาริ, เป็น ๒๐ ขาริ ด้วยขารินั้น (ขาริหนึ่งเท่ากับ ๑,๒๕๖ ทะนาน
๒๐ ขาริ เท่ากับ ๒๕,๑๒๐ ทะนาน). บทว่า ติลวาโห ได้แก่ เกวียนบรรทุกงา.
บทว่า อพฺพุโท นิรโย อัพพุทนรก คือ ชื่อว่าอัพพุทนรก ไม่มีนรกจัดไว้
เฉพาะไร ๆ แต่โอกาสที่ได้รับความเร่าร้อน ด้วยการนับอัพพุทะ (๑๐๐ ล้านปี)
ในอเวจีนั่นแหละท่านกล่าวว่า อัพพุทนรก. ในนิรัพพุทนรกเป็นต้นก็มีนัยนี้.
ในนิรัพพุทนรกนั้น พึงทราบการนับปีอย่างนี้, ๑๐๐ แสนเป็น ๑ โกฏิ, ๑๐๐
แสนโกฏิ เป็น ๑ ปโกฏิ, ๑๐๐ แสนปโกฏิ เป็น ๑ โกฏิปโกฏิ, ๑๐๐ แสนโกฏิ-
ปโกฏิ เป็น ๑ นหุต, ๑๐๐ แสนนหุต เป็น ๑ นินนหุต, ๑๐๐ แสนนินนหุต
เป็น ๑ อัพพุทะ, เอา ๒๐ คูณอัพพุทะ เป็น ๑ นิรัพพุทะ. ในนรกทั้งปวงก็มี
นัยนี้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ในนรกนั้น ๆ ได้ชื่อโดยความต่างแห่งการ
เสวยทุกข์บ้าง โดยความต่างแห่งกรรมกรณ์บ้าง. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า
นรกเหล่านี้เป็นสีตนรก. บทว่า อถาปรํ ท่านกล่าวหมายถึงคาถาประพันธ์แสดง
ความให้พิเศษไปจากความนั้น. ใน ๒๐ คาถา คาถาหนึ่งนี้ว่า สตํ สหสฺสานิ
๔๗/๓๘๗/๖๑๒

พยากรณ์ แต่บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เมื่อ
แสวงหาพุทธการกธรรม (ธรรมเครื่องทำความเป็นพระพุทธเจ้า)
ทรงเห็นบารมี ๑๐ จึงทรงตกลงพระทัยว่า เราควรบำเพ็ญธรรม
เหล่านี้ แม้กำลังบำเพ็ญทานบารมีอยู่ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้
เมื่อทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ เหล่านี้คือ ศีลบารมี ฯลฯ อุเปกขาบารมี
ก็ดี ทรงบำเพ็ญอุปบารมี ๑๐ อยู่ก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อ
ทรงบำเพ็ญปรมัตถบารมี ๑๐ อยู่ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ เมื่อบริจาค
ซึ่งมหาบริจาค ๕ ประการ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ แม้เมื่อทรงบำเพ็ญ
ญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา และพุทธัตถจริยาอาทิผิด สระ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ.
แม้เมื่อทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรม ให้ถึงที่สุด สิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป
ก็ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อทรงละอัตภาพพระเวสสันดร ถือปฏิสนธิใน
ดุสิตบุรี ดำรงอยู่ตลอด ๕๗ โกฏิปี กับอีก ๖๐,๐๐๐ ปี ก็ชื่อว่าเมื่อจะ
อุบัติ. พระองค์อันเทวดาทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดู มหาวิโลกิตะ
๕ ประการ ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระเทวี ทรงพระนาม
ว่ามหามายาก็ดี ทรงอยู่ในพระครรภ์ ๑๐ เดือนถ้วนก็ดี ก็ชื่อว่า
เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. แม้ทรงดำรงอยู่ในการครองเรือน ๒๙ พรรษา
ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. แม้เมื่อทรงเห็นโทษในกามทั้งหลาย
เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม มีนายฉันนะเป็นสหาย ทรงม้า
กัณฐกะตัวประเสริฐ เสด็จออกผนวชในวันที่พระราหุลภัททะอาทิผิด อักขระประสูติ
ก็ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. เสด็จผ่านพ้นราชอาณาจักรทั้ง ๓ แห่งไป
ทรงผนวชที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานทีก็ดี ก็ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติเหมือนกัน แม้.
ทรงทำอาทิผิด สระมหาอาทิผิด อักขระปธานความเพียร ๖ พรรษา ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน.
เมื่อพระญาณแก่กล้าแล้วเสวยกระยาหารหยาบก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ
๓๒/๑๔๕/๑๙๐
๔. อัมพชาดก
บัณฑิตควรพยายามร่ำไป
[๑๒๔] “บุรุษผู้เป็นบัณฑิต ควรพยายามร่ำไป
ไม่ควรเบื่อหน่าย จงดูผลแห่งความพยายาม
ผลมะม่วงทั้งหลายที่มีให้บริโภคอยู่ ก็ด้วยความ
พยายามทั้งนั้น ไม่ใช่ของที่มีมาได้เอง”
จบ อัมพชาดกที่ ๔
อรรถกถาอัมพชาดกที่ ๔
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพราหมณ์ผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรคนหนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วายเมเถว ปุริโส ดังนี้.
ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถี
บวชถวายชีวิตในพระศาสนา ได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร กระทำ
อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร และวัตรมีการตั้งน้ำดื่มและอาทิผิด สระน้ำใช้
ทั้งวัตรในโรงอุโบสถ และอาทิผิด สระวัตรในเรือนไฟเป็นต้น เป็นอันดี
ได้เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในมหาวัตรทั้ง ๑๔ และขันธกวัตร
ทั้ง ๘๐ กวาดวิหาร บริเวณโรงตึกทางไปวิหาร ให้น้ำดื่มแก่
พวกมนุษย์ พวกมนุษย์เลื่อมใสในความสมบูรณ์ด้วยวัตรของ
ท่าน พากันถวายภัตรประจำ ประมาณ ๕๐๐ ราย ลาภและสักการะ
๕๖/๑๒๔/๔๘๐

พระวินัย (ให้เข้าใจ). ภิกษุผู้ออกบวชใหม่ ๆ ด้วย
ศรัทธา ยังใหม่ต่อการศึกษาต้องเป็นผู้ฉลาด ในสิ่งที่
ควรและไม่ควร ไม่ควรประพฤติตนเป็นคนออกหน้า
ออกตา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธาย ความว่า เพราะศรัทธา
อธิบายว่า ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงชีพ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สทฺธาย ได้แก่เชื่อผล
กรรมและคุณพระรัตนตรัย.
บทว่า อภินิกฺขมฺม ความว่า ออกจากการครองเรือน.
บทว่า นวปพฺพชิโต ได้แก่ เป็นผู้บวชใหม่ คือบวชในปฐมวัย
นั่นเอง.
บทว่า นโว ได้แก่ ยังใหม่ คือยังรุ่นหนุ่ม ต่อการศึกษาศาสนา.
บทว่า มิตฺเต ภเวยฺย กลฺยาเณ สุทฺธาชีเว อตนฺทิเต (ควร
คบหากัลยาณมิตร ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เกียจคร้าน) ความว่า ควรคบคือ
เข้าไปหากัลยาณมิตร ผู้มีลักษณะดังที่ตรัสไว้ โดยนัยมีอาทิว่า เป็นที่รัก
น่าเคารพนับถือ ชื่อว่ามีอาชีพบริสุทธิ์ เพราะเว้นจากมิจฉาชีพ และชื่อว่าผู้
ไม่เกียจคร้าน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว ได้แก่ ควรคบหาสมาคม
โดยการรับเอาโอวาทานุสาสนีของท่าน.
บทว่า สงฺฆสฺมึ วิหรํ ได้แก่ พักอยู่ในหมู่ คือในชุมนุมสงฆ์
โดยการบำเพ็ญวัตรและปฏิวัตร (วัตรต่าง ๆ).
บทว่า สิกฺขถ วินยํ พุโธ ความว่า ต้องเป็นผู้ฉลาดในความรู้
และความเข้าใจ ศึกษาปริยัติคือพระวินัย ด้วยว่า พระวินัยเป็นอายุ (ชีวิต)
ของพระศาสนา เมื่อพระวินัยยังคงอยู่ พระศาสนา ก็เป็นอันยังดำรงอยู่. แต่
บางอาจารย์กล่าวว่า พุโธ ความหมายก็อาทิผิด อาณัติกะอย่างนั้นเหมือนกัน.
๕๑/๓๑๗/๓๐๓