วันเสาร์, มีนาคม 20, 2564

Khot Kong

 
ควรจะตรัสว่า สมฺมทญฺญาย วิมุตฺตา แต่ก็ตรัสเสียว่า สมฺมทญฺญา
วิมุตฺตา และเหมือนเมื่อควรจะตรัสว่า อนุปุพฺพสิกฺขาย อนุปุพฺพกิริยาย
อนุปุพฺพปฏิปทาย แต่ก็ตรัสเสียว่า อนุปุพฺพสิกฺขา อนุปุพฺพกิริยา
อนุปุพฺพปฏิปทา อญฺญาราธนา ฉะนั้น. บทว่า นาญฺญมญฺญสฺส
ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน. ท่านอธิบายไว้
อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่ามิใช่เจริญเมตตา โดยมนสิการเป็นต้นว่า ขอสัตว์
ทั้งหลายจงมีสุข มีความเกษมเถิดดังนี้อย่างเดียว ที่แท้พึงมนสิการอย่างนี้ว่า
โอหนอ บุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ไม่พึงข่มเหงบุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ด้วย
กิริยาคดอาทิผิด อักขระโกงมีล่อลวงเป็นต้น ไม่พึงดูหมิ่นบุคคลอื่นไม่ว่าใคร ๆ ไม่ว่าในประเทศ
ไหน ๆ ด้วยวัตถุแห่งมานะ ๙ อย่าง มีชาติเป็นต้น และไม่พึงปรารถนาทุกข์
แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธหรือเพราะความคุมแค้น ดังนี้อีกด้วย.
พรรณนาคาถาที่ ๗
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยอรรถด้วย
ปรารถนาให้เขาออกไปจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์และทุกข์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ
ทรงแสดงเมตตาภาวนานั้นนั่นแลด้วยอุปมา จึงตรัสว่า มาตา ยถา นิยํ
ปุตฺตํ เป็นต้น.
คาถานั้นมีความว่า มารดาพึงอนุรักษ์บุตรในตน คือบุตรที่เกิดใน
ตน เกิดแต่อก พึงทะนุถนอมบุตรนั้นซึ่งมีคนเดียวเท่านั้นด้วยชีวิต คือยอม
สละแม้ชีวิตของตนถนอมบุตรนั้น เพื่อห้ามกันทุกข์มาถึงบุตรนั้น ฉันใดภิกษุ
พึงทำมนัสที่ประกอบด้วยเมตตานี้ให้เจริญ คือให้เกิดบ่อย ๆ ให้ขยายไปและยัง
เมตตาภาวนานั้นให้เจริญไม่มีประมาณ โดยถือสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์
หรือโดยแผ่ไปไม่เหลือเลย แม้แต่ในสัตว์ผู้หนึ่ง.
 
๓๙/๑๐/๓๕๑

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก