ด้วยกรณียกิจบางอย่างแล. เมื่อรอคอยกาลเล็กน้อย แล้วนำภิกษุเหล่านั้น
กลับมาอีก ฝ่ายภิกษุนอกนี้ก็หลีกไป. การประชุมโดยการนำมาบ่อย ๆ
อย่างนี้ ได้มีโดยกาลนานทีเดียว. ก็ในกาลนั้น พระเถระได้อยู่แต่รูปเดียว.
บทว่า ทสวคฺคํ ภิกฺขุสงฺฆํ สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ในกาลนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยสงฆ์ทสวรรคเท่านั้น แม้ใน
ปัจจันตประเทศ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระเถระทูลวิงวอนถึง
เหตุอุปสมบทนี้ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท ในปัจจันตประเทศด้วยสงฆ์
ปัญจวรรค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ติณฺณํ วสฺสานํ ฯ เป ฯ
สนฺนิปาเตตฺวาอาทิผิด สระ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า วสฺสํ วุฏฺฐสฺส ได้แก่ ผู้อุปสมบทแล้วเข้าพรรษาต้นแล้ว
ออก. บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเราได้
ฟังมาว่า เห็นปานนี้ ๆ คือ ทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติ และรูปกาย-
สมบัติเห็นปานนี้ และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้ ด้วยคำว่า
น โข เม โส ภควา สมฺมุขา ทิฏฺโฐ นี้ อาจารย์ทั้งหลายหมายเอาความ
เป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่าท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า แต่ภายหลังเธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา
ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ จึงทำไว้ในใจให้มีประโยชน์ถึง
พระสูตร ๑๖ เป็นวรรค ๘ วรรค เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้ว
ประมวลมาไว้ในใจทั้งหมด เป็นผู้รู้แจ้งอรรถและธรรม เมื่อจะกล่าวเป็น
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม ในเวลาจบ
สรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ
ก็เพื่อประโยชน์นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งให้เธออยู่ในพระ-
กลับมาอีก ฝ่ายภิกษุนอกนี้ก็หลีกไป. การประชุมโดยการนำมาบ่อย ๆ
อย่างนี้ ได้มีโดยกาลนานทีเดียว. ก็ในกาลนั้น พระเถระได้อยู่แต่รูปเดียว.
บทว่า ทสวคฺคํ ภิกฺขุสงฺฆํ สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ในกาลนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยสงฆ์ทสวรรคเท่านั้น แม้ใน
ปัจจันตประเทศ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระเถระทูลวิงวอนถึง
เหตุอุปสมบทนี้ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท ในปัจจันตประเทศด้วยสงฆ์
ปัญจวรรค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ติณฺณํ วสฺสานํ ฯ เป ฯ
บทว่า วสฺสํ วุฏฺฐสฺส ได้แก่ ผู้อุปสมบทแล้วเข้าพรรษาต้นแล้ว
ออก. บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเราได้
ฟังมาว่า เห็นปานนี้ ๆ คือ ทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติ และรูปกาย-
สมบัติเห็นปานนี้ และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้ ด้วยคำว่า
น โข เม โส ภควา สมฺมุขา ทิฏฺโฐ นี้ อาจารย์ทั้งหลายหมายเอาความ
เป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่าท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า แต่ภายหลังเธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา
ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ จึงทำไว้ในใจให้มีประโยชน์ถึง
พระสูตร ๑๖ เป็นวรรค ๘ วรรค เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้ว
ประมวลมาไว้ในใจทั้งหมด เป็นผู้รู้แจ้งอรรถและธรรม เมื่อจะกล่าวเป็น
ผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม ในเวลาจบ
สรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ
ก็เพื่อประโยชน์นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งให้เธออยู่ในพระ-
๔๔/๑๒๒/๕๕๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น