วันอังคาร, มีนาคม 23, 2564

Wai

 
บทว่า เอวํ เป็นต้น ความว่า กำลังคลื่นแห่งมหาสมุทร ตั้งขึ้น
ซ้อน ๆ กัน ย่อมครอบงำบุรุษนั้นผู้ไม่สามารถว่ายอาทิผิด อักขระข้ามมหาสมุทรนั้นไปได้
ฉันใด ชาติและชราก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำ คือย่อมย่ำยีท่านผู้ถูกความ
เกียจคร้านครอบงำ.
บทว่า โส กโรหิ ความว่า ดูก่อนกาติยานะ ท่านจงกระทำเกาะ
ที่ดี กล่าวคือพระอรหัตผลที่โอฆะทั้ง ๔ ท่วมทับไม่ได้แก่ตน คือจงให้
เกิดขึ้นในสันดานของตน.
ศัพท์ว่า หิ ในบทว่า น หิ ตาณํ ตว วิชฺชเตว อญฺญํ เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถว่า เหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ ชื่อว่าที่พึ่งของท่านอื่นจาก
พระอรหัตผลนั้น ย่อมไม่ได้ในโลกนี้หรือโลกหน้า ฉะนั้น ท่านจงกระทำ
เกาะที่ดีคือพระอรหัตผลนั้น.
บทว่า สตฺถา หิ วิเชสิ มคฺคเมตํ ความว่า พระศาสดาทรงครอบงำ
เทวปุตตมารเป็นต้นแล้วตรัสบอก คือทำอริยมรรคที่เป็นตัวเหตุแห่งเกาะ
ที่ดีนั้น อันล่วงพ้นจากกิเลสเครื่องข้อง ๕ ประการ และจากภัยมีชาติ
เป็นต้น ซึ่งพวกอัญญเดียรถีย์จำนวนมากไม่อาจให้สำเร็จต้องพ่ายแพ้นั้น
ให้สำเร็จแก่ท่าน. เพราะเหตุที่ของที่มีอยู่ของพระศาสดา สาวกควรครอบ-
ครอง ไม่ควรละทิ้ง เพราะฉะนั้น เพื่อจะครอบครองของที่เป็นของ
พระศาสดานั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดราตรีก่อนและราตรีหลัง คือ
ตลอดยามต้นและยามหลัง คือจงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ หมั่นประกอบ
ความเพียรและการเจริญภาวนาให้มั่นคงไว้.
บทว่า ปุริมานิ ปมุญฺจ พนฺธนานิ ความว่า ท่านจงปล่อย คือละ
เครื่องผูกของคฤหัสถ์ ได้แก่ เครื่องผูกคือกามคุณที่มีอยู่ในกาลก่อน คือ
 
๕๒/๓๕๓/๑๙๑

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก