วันอาทิตย์, มีนาคม 28, 2564

Fai

 
บทว่า ภตฺตุ คือ สามี. บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่ อาศัย
ความเอ็นดู. บทว่า ปุพฺพุฏฺฐายินิโย ได้แก่ ปกติตื่นก่อนเขาหมด. บทว่า
ปจฺฉานปาตินิโย ได้แก่ ปกตินอนหลังเขาหมด. ก็หญิงบริโภคแล้วขึ้นที่
นอน นอนก่อนไม่ควร. แต่ให้คนในครัวเรือนทั้งหมดบริโภคแล้ว จัดสิ่งของ
ที่เป็นอุปกรณ์ รู้ว่าโคเป็นต้นที่มาแล้วและยังไม่มา สั่งการงานที่จะพึงทำใน
วันรุ่งขึ้น ถือลูกกุญแจไว้ในมือ ถ้าอาหารมีก็บริโภค ถ้าไม่มีก็ให้คนอื่นหุงหา
แล้วเลี้ยงคนทั้งหมดให้อิ่ม แล้วนอนในภายหลังจึงควร. แม้นอนแล้ว จะนอน
จนตะวันขึ้นก็ไม่ควร แต่ลุกก่อนเขาทั้งหมดแล้ว ให้เรียกทาสและคนงานมา
แล้วสั่งงานว่า ท่านจงทำงานอันนี้ ๆ ให้รีดนมแม่โค ทำกิจที่ควรทำทั้งหมด
ในเรือนไว้เป็นพนักงานของตนจึงควร. พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึงข้อความ
นั้น จึงตรัสว่า ปุพฺพฺฏฺฐายินิโย ปจฺฉานิปาตินิโย ตื่นก่อนนอนหลัง
ดังนี้.
บทว่า กึการปฏิสฺสาวินิโย ความว่า มีปกติมองหน้ากันแล้ว
ตรวจดูว่า เราจะทำอะไร เราจะทำอะไรดังนี้. บทว่า มนาปจาริณิโย
ได้แก่ ปกติทำกิริยาแต่ที่น่าพอใจ. บทว่า ปิยวาทินิโย ได้แก่ พูดแต่ถ้อยคำ
ที่น่ารัก. บทว่า ปูชิสฺสาม ได้แก่ บูชาด้วยปัจจัย ๔. บทว่า อพฺภาคเต
ได้แก่ ท่านผู้มาถึงสำนักของตน. บทว่า อาสโนทเกน ปฏิปูเชสฺสาม
ความว่า ต้อนรับด้วยอาสนะและน้ำล้างเท้า. แต่ในข้อนี้ ควรทำสักการะทุกวัน
แก่มารดาบิดา. ส่วนสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มาถึงแล้วควรถวายอาสนะน้ำล้าง-
เท้าและควรทำสักการะ.
บทว่า อุณฺณา คือ ขนแกะ. บทว่า ตตฺถ ทกฺขา ภวิสฺสาม
ความว่า จักเป็นผู้ฉลาดในการสางและซัก การย้อมและจัดให้เป็นฟ่อนสำหรับ
ขนแกะทั้งหลาย และในการปั่น แผ่ ยี และกรอเป็นต้นสำหรับฝ้ายอาทิผิด อาณัติกะ. บทว่า
 
๓๖/๓๓/๗๖

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก