
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องเนื้อติดคอ ๓ เรื่อง
[๒๐๙] ๑. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อ
ติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อหลุดออกมาพร้อมกับ
โลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความรังเกียจว่า เราต้อง
อาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระ-
พุทธเจ้าข้าอาทิผิด อาณัติกะ.
ภ. ภิกษุไม่มีความประสงค์อาทิผิด อักขระจะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ.
๒. ก็โดยสมัยนั้นแล เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกำลังฉันอาหาร เนื้อติดคอ
ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อ
หลุดออกมาพร้อมกับโลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ภิกษุรูปที่ประหาร มีความ
รังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอคิดอย่างไร.
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนภิกษุ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
๒/๒๐๙/๒๘๒
สงบระงับกลับจากที่โคจร เป็นผู้เยือกเย็นนั่งอยู่
ที่โคนต้นไม้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามสมณะนั้นถึง
ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย การอยู่สำราญและตรัส
บอกนามของพระองค์ให้ทราบว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ดิฉันเป็นกษัตริย์ลิจฉวีอยู่ในเมืองเวสาลี
ชาวลิจฉวีเรียกดิฉันว่าอัมพสักขระ ขอท่านจง
รับผ้า ๘ คู่นี้ของดิฉัน ดิฉันขอถวายท่าน ดิฉัน
มาในที่นี้ด้วยความประสงค์เพียงเท่านี้ ดิฉันมี
ความปลื้มใจนัก.
พระเถระทูลถามว่า :-
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย พากันละเว้น
พระราชนิเวศน์ของมหาบพิตรแต่ที่ไกลทีเดียว
เพราะในพระราชนิเวศน์ของมหาบพิตร บาตร
ย่อมแตก แม้สังฆาฏิก็ถูกเขาฉีก เมื่อก่อนสมณะ
ทั้งหลายมีศีรษะห้อยลง ตกลงไปจากเขียงอาทิผิด อักขระเท้า
มหาบพิตรได้เบียดเบียนบรรพชิตเช่นนี้ สมณะ
ทั้งหลายเคยถูกมหาบพิตรทำการเบียดเบียนแล้ว
มหาบพิตรไม่เคยพระราชทานแม้แต่น้ำมันสัก
หยดหนึ่งเลย ไม่ตรัสบอกทางให้คนหลงทาง ชิง
เอาไม้เท้าจากมือคนตาบอดเสียเอง มหาบพิตร
เป็นคนตระหนี่ ไม่สำรวมเช่นนี้ แต่บัดนี้ เพราะ
๔๙/๑๒๑/๔๕๗

อย่างนั้น คือ กรรมเป็นเหตุประทุษร้ายคนเดินทาง ปล้นสดมภ์ชาวบ้านที่ตั้ง
อยู่ชายแดน เป็นบุรุษผู้ถึงความเจริญไพบูลย์ขึ้นแล้ว ทำบ้านมิให้อาทิผิด สระเป็นบ้านบ้าง
ทำชนบทมิให้เป็นชนบทบ้าง ฆ่าเอง ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผา-
ผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ.
[มหาโจรในพระศาสนาเที่ยวย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่]
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโจรภายนอกอย่างนี้แล้ว จึงตรัส
พระดำรัสว่า เอวเมว โข เป็นต้น เพื่อทรงแสดงมหาโจร ๕ จำพวกใน
พระศาสนา ผู้เช่นกับโจรภายนอกนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปภิกฺขุโน ความว่า ในที่อื่นๆ
ภิกษุผู้ต้องปาราชิก มีมูลขาดแล้ว ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้เลวทราม. ส่วนใน
สิกขาบทนี้ ภิกษุผู้มิได้ต้องปาราชิก แต่ตั้งอยู่ในอิจฉาจารเที่ยวย่ำยีสิกขาบท
น้อยใหญ่ ท่านประสงค์เอาว่า ภิกษุผู้เลวทราม ความปรารถนาในส่วนเบื้อง
ต้น ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ภิกษุผู้เลวทรามนั้น เหมือนเกิดขึ้นแก่มหาโจรภายนอก
อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ ? เราจึงอาทิผิด สระจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง
แวดล้อมแล้ว เที่ยวจารึกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์
และบรรพชิตสักการะ เคารพนับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณ-
ฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช ปริขาร. ๑
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกโต ได้แก่ ผู้ประสบสักการะ.
บทว่า ครุกโต ได้แก่ ผู้ได้รับความเคารพ.
บทว่า มานิโต ได้แก่ ผู้อันเขารักด้วยน้ำใจ.
บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อันเขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชา คือนำมา
เฉพาะซึ่งปัจจัยทั้ง ๔.
๑ วิ. มหา. ๑/๑๔,๑๖๙-๑๗๐
๒/๓๐๐/๖๐๙

อธิบายว่า ท่านกล่าวว่า รูปของท่านไม่ใช่บุคคล บุคคลเท่านั้นย่อม
ท่องเที่ยวไป เหตุใด เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าขออาทิผิด ถามท่านว่า รูปของ
ท่านนั้น ไม่ท่องเที่ยวไปหรือ ? ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยหมายเอาว่า
บุคคลท่องเที่ยวไป ไม่อาจท่องเที่ยวไปด้วยรูปที่เป็นอุปาทานของผู้นั้น
เมื่อถูกถามซ้ำอีก ก็ตอบรับรอง เพราะการท่องเที่ยวไปแห่งสัตว์ทั้งหลาย
นั่นเทียว. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
อนึ่งเนื้อความแห่งคาถาทั้งหลายพึงทราบดังนี้ ว่าโดยมติของ
ท่านผู้มีอายุ บุคคลอาศัยขันธ์ทั้งหลายจึงมีอยู่ดุจเงาต้นไม้อาศัยต้นไม้
และดุจไฟอาศัยเชื้อไฟ ครั้นเมื่อความท่องเที่ยวไปแห่งธรรมทั้งหลายมี
รูปเป็นต้นไม่มี เมื่อขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นแตกดับไป ก็ถ้าบุคคลของ
ท่านย่อมไม่แตกดับไปไซร้ เมื่อความเป็นเช่นนี้มีอยู่ ความเห็นว่าขาด
สูญย่อมเกิด อุจเฉททิฏฐิย่อมปรากฏแก่เขา. ถามว่า ทิฏฐิเหล่าไหนย่อม
เกิดตอบว่า อกุสลทิฏฐิเหล่าใดที่พระพุทธเจ้าทรงเว้นขาดแล้ว ทิฏฐิ
เหล่านั้นย่อมเกิด. ท่านย่อมแสดงว่า ก็ปริยายภาษิตอันใดที่ว่า พระ-
สมณโคดมอาทิผิด สระผู้เป็นอุจเฉทวาที ดังนี้ พวกเราทั้งหลายย่อมไม่กล่าวคำ
นั้น. แม้อีกอย่างหนึ่ง เมื่อขันธ์เหล่านั้นแตกดับไป บุคคลนั้นย่อมไม่
แตกดับไปไซร้ ครั้นเมื่อความเป็นเช่นนั้นมีอยู่ บุคคลก็เที่ยง บุคคลนั้น
ก็จะเสมอเหมือนกับพระนิพพานตามทิฏฐินั้น. คำว่า เสมอเหมือน
ได้แก่เสมออย่างยิ่งอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เสมอด้วยเสมอ หรือเสมอโดย
ความเสมอนั่นเทียว เหมือนอย่างว่าพระนิพพานย่อมไม่เกิดย่อมไม่ดับ
๘๐/๙๑/๑๓๐
มิคราชา ถูกจับขังไว้ แม้ในกรงทองก็ไม่ยินดี, แต่ย่อมยินดีใน
หิมวันตประเทศอันกว้างใหญ่ถึง ๓,๐๐๐ โยชน์ ฉันใด, สีหะคือพระ-
โยคีบุคคลแม้นี้ ย่อมไม่ยินดีแม้ในสุคติภพทั้ง ๓ แต่ย่อมยินดีในอนุ-
ปัสสนา ๓ เท่านั้น
อนึ่ง เหมือนพญาช้างฉัททันต์ เผือกผ่องทั้งตัวมีที่ตั้งดี ๗ สถาน
มีฤทธิ เหาะไปในเวหาส ย่อมไม่ยินดีในใจกลางพระนคร, แต่ย่อม
ยินดีในสระใหญ่ชื่อฉัททันต์เท่านั้น ฉันใด, พระโยคีบุคคลเพียงดัง
ช้างตัวประเสริฐนี้ ย่อมไม่ยินดีในสังขารธรรมแม้ทั้งปวง, แต่ย่อมยินดี
ในสันติบทคือพระนิพพานเท่านั้น อันท่านอาทิผิด สระแสดงแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
การไม่เกิดขึ้น เป็นการปลอดภัย๑, มีใจน้อมอาทิผิด อักขระไปโน้มไปเงื้อมไปใน
สันติบทคือพระนิพพานนั้น. นิพพิทานุปัสสนาญาณย่อมเป็นอันเกิดขึ้น
แล้วแก่พระโยคีนั้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
๙. อรรถกถาสังขารุเปกขาญาณุทเทส
ว่าด้วย สังขารุเปกขาณาณ
คำว่า มุญฺจิตุกมฺยตาปฏิสงฺขาสนฺติฏฺฐนา ปญฺญา สงฺขารุ-
เปกฺขาสุ ญาณํ ความว่า พระโยคีบุคคลใด มีความประสงค์คือ
๑. ขุ.ป. ๓๑/๑๑๕.
๖๘/๐/๖๐

พระโคดมผู้เจริญนั้น เปรียบเหมือนเมล็ดผักกาด เมื่อนำไปเทียบอาทิผิด กับ
เขาสิเนรุ รอยเท้าโค. เมื่อนำไปเทียบกับมหาสมุทร หยดน้ำค้าง เมื่อนำ
ไปเทียบกับน้ำในสระใหญ่ ๗ สระ ก็เป็นของกระจิริดอาทิผิด คือ เล็กน้อยฉันใด
คุณของพวกเรา เมื่อนำไปเทียบกับพระคุณมีพระชาติสมบัติเป็นต้น ของ
พระสมณโคดม เป็นของนิดหน่อย คือ เล็กน้อย ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
พวกเรานั้นแหละ ควรไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญ.
บทว่า ทรงละหมู่พระญาติมากมาย คือทรงละตระกูลพระญาติ
แสนหกหมื่นอย่างนี้ คือ ฝ่ายพระมารดาแปดหมื่น ฝ่ายพระบิดาแปดหมื่น.
ในบทนี้ว่า อยู่ในดินและตั้งอยู่ในอากาศ ทรัพย์ที่เขาขุดสระโบก-
ขรณีที่ฉาบปูนเกลี้ยงในพระลานหลวง และในพระราชอุทยาน ใส่แก้ว ๗
ประการจนเต็ม แล้วฝังไว้ในแผ่นดิน ชื่อว่าทรัพย์อยู่ในดิน. ส่วนทรัพย์
ที่ตั้งไว้จนเต็มประสาทและป้อม เป็นต้น ชื่อว่า ตั้งอยู่ในอากาศ. ทรัพย์
ที่ตกทอดมาตามความหมุนเวียนแห่งตระกูลมีเพียงเท่านี้ก่อน. แต่ในวันที่
พระตถาคตอุบัติขึ้นแล้วนั่นแหละ มีขุมทรัพย์ ๔ ขุม คือ ขุมทรัพย์ชื่อ
สังขะ ๑ ชื่อเอละ ๑ ชื่ออุปปละ ๑ ชื่อปุณฑริก ๑ ผุดขึ้นแล้ว. บรรดา
ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ นั้น ขุมทรัพย์ชื่อสังขะมีคาวุตหนึ่ง ขุมทรัพย์ชื่อเอละมี
ครึ่งโยชน์ ขุมทรัพย์ชื่ออุปปละมีสามคาพยุต ขุมทรัพย์ชื่อปุณฑริกะมี
โยชน์หนึ่ง ทรัพย์ที่ถือเอา ๆ แม้ในขุมทรัพย์เหล่านั้น ก็กลับเต็มอีก.
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเงินทองมากมายแล้ว ออกผนวช
ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ยังเป็นคนหนุ่ม คือยังเป็นเด็ก. บทว่า มีพระเกศาดำสนิท
คือมีพระเกศาดำขลับ ความว่า มีพระเกศาเช่นเดียวกับสียาหยอดตา.
บทว่า เจริญ คือ ดี. บทว่า วัยที่หนึ่ง คือ ปฐมวัยในบรรดาวัยทั้งสาม.
๑๒/๑๙๘/๒๕

ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระ-
อาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอ
ยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อม เพรียงกัน
ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
หรือ.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้ พระพุทธเจ้าข้า ยังพอให้
เป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจ
กัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระ
พุทธเจ้าข้า.
พุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่
ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระตถาคตทรง
กำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายอาทิผิด อักขระย่อมทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติ
สิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง.
ตรัสถาม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน
อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร.
๔/๓๐๕/๑๙๘

เพราะเหตุดังนั้นแล เป็นกาลสมควรที่ท่านจะไปยังเกาะอันประเสริฐแล้ว แม้
กระผม ก็จักร่วมเป็นเพื่อนท่านด้วย.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจึงได้ตรัสอย่างนั้น ?
แก้ว่า เพราะได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาทิผิด อักขระตรวจดูโลกด้วย
พุทธจักษุ ที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง ได้ทอดพระเนตรเห็นสมบัติแห่งเกาะ
นี้ในอนาคตจึงได้ตรัสบอกความนั่นแก่ท้าวสักกะนั้น และทรงสั่งบังคับไว้
ด้วยว่า ในเวลานั้น ถึงบพิตรก็ควรร่วมเป็นสหายด้วย, ดังนี้ ฉะนั้น ท้าวสักกะ
จึงได้ตรัสอย่างนั้น.
[พระมหินทเถระพร้อมกับคณะไปเกาะลังกา]
พระเถระ รับคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว เป็น ๗ คนทั้งตน เหาะขึ้น
ไปสู่เวหาจากเวทิสบรรพต แล้วดำรงอยู่บนมิสสกบรรพต ซึ่งชนทั้งหลายใน
บัดนี้จำกันได้ว่า เจติยบรรพต บ้าง ทางทิศบูรพาแห่งอนุราชบุรี. เพราะ
เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวไว้ว่า
พระเถระทั้งหลายพักอยู่ที่เวทิสคิรี-
บรรพตใกล้กรุงราชคฤห์ สิ้น ๓๐ ราตรีได้
ดำริว่า เป็นกาลสมควร ที่จะไปยังเกาะอัน
ประเสริฐ, พวกเราจะพากันไปสู่เกาะอัน
อุดม ดังนี้ แล้วได้เหาะขึ้นจากชมพูทวีป
ลอยไปในอากาศดุจพญาหงส์บินไปเหนือ
ท้องฟ้าฉะนั้น, พระเถระทั้งหลายเหาะขึ้นไป
แล้วอย่างนั้น ก็ลงที่ยอดเขาแล้ว ยืนอยู่บน
ยอดบรรพต ซึ่งงามไปด้วยเมฆ อันตั้งอยู่
ข้างหน้าแห่งบุรีอันประเสริฐราวกะว่า หมู่-
หงส์จับอยู่บนยอดเขาฉะนั้น.
๑/๙/๑๒๓

[๓๙๒] ในกาฬปักษ์ พระจันทร์ย่อมเสื่อมลง
ทุกวัน ๆ ฉันใด ดูก่อนพระราชา การคบอสัตบุรุษ
ย่อมเปรียบเหมือนกาฬปักษ์ฉะนั้น หม่อมฉันก็เหมือน
กัน อาศัยคนครัวเครื่องต้นเป็นคนชั่วเลวทราม ได้ทำ
บาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ ในศุกลปักษ์
พระจันทร์ย่อมเจริญขึ้น ทุกวัน ๆ ฉันใด การคบ
สัตบุรุษย่อมเปรียบเหมือนศุกลปักษ์ฉะนั้น ข้าแต่
พระเจ้าสุตโสม ขอจงทรงทราบว่า หม่อมฉันก็เหมือน
กัน อาศัยพระองค์จักกระทำกุศลกรรมอันเป็นเหตุให้
ไปสู่สุคติ ข้าแต่พระจอมประชาชน น้ำฝนตกลงใน
ที่ดอนย่อมไม่คงที่ ไม่ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม้การ
คบอสัตบุรุษของหม่อมฉันก็ย่อมไม่คงที่ เหมือนน้ำใน
ที่ดอนฉันนั้น ข้าแต่พระจอมประชาชน ผู้เป็นนระ
ผู้กล้าหาญอย่างประเสริฐสุด น้ำฝนตกลงในสระย่อม
ขังอยู่ได้นาน ฉันใด แม้อาทิผิด อาณัติกะการสมาคมกับสัตบุรุษของ
หม่อมฉัน ก็ย่อมตั้งอยู่ได้นานเหมือนน้ำในสระ
ฉันนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักเสื่อม ย่อม
เป็นอยู่อย่างนั้น แม้ตลอดเวลาที่ชีวิตยังตั้งอยู่ ส่วน
การสมาคมกับอสัตบุรุษย่อมเสื่อมเร็ว เพราะเหตุนั้น
ธรรมของสัตบุรุษย่อมไกลจากอสัตบุรุษ.
[๓๙๓] พระราชาใดชนะคนที่ไม่ควรชนะ
พระราชานั้นไม่ชื่อว่าเป็นพระราชา ผู้ใดเอาชนะเพื่อน
๖๒/๓๙๒/๖๓๗

กระจัดกระจายในที่นั้น ทำเป็นช่องว่างไว้ที่ซอกเขา. พระนางทอดพระ
เนตรเห็นเสือโคร่งทางช่องนั้น ทรงกลัวจึงส่งเสียงร้องดังลั่น. พระเจ้า
กรุงพาราณสี ทรงสดับเสียงนั้น ทรงสังเกตได้ว่า นี้เป็นเสียงสตรี จึงเสด็จ
ไป ณ ที่นั้นแต่เช้าทีเดียว ตรัสถามว่า ใครอยู่ในที่นี้ พระนางตอบว่า ผู้
หญิง นาย. เธอมีชาติเป็นอะไร. ฉันเป็นธิดาของพระเจ้าโอกกากมหาราช.
เธอจงออกมาเถิด. ไม่สามารถออกไปได้ นาย. เพราะเหตุไร ฉันเป็น
โรคผิวหนัง. พระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสถามความเป็นมาทุกประการแล้ว
ให้พระนางผู้ไม่ยอมออกมาเพราะขัตติยมานะ ทรงทราบความเป็น
กษัตริย์ของตนว่า แม้เราก็เป็นกษัตริย์ จึงทรงพาดบันไดลงไป ทรงฉุด
ขึ้นมาพาไปยังที่ประทับของพระองค์ พระราชทานยาที่พระองค์ทรงเสวย
เองนั่นแหละ ต่อมาไม่นานนัก ทรงกระทำให้พระนางหายพระโรค มีผิว
พรรณประดุจทองคำได้ จึงทรงอยู่ร่วมกับพระนาง. เพราะการอยู่ร่วม
ครั้งแรกนั่นเอง พระนางก็ทรงครรภ์ ประสูติพระราชโอรส ๒ พระองค์
แล้วก็ประสูติอีกถึง ๑๖ ครั้ง อย่างนี้คือ ครั้งละสอง ๆ ด้วยประการ
ฉะนี้. จึงมีพี่น้องถึง ๓๒ พระองค์. พระราชบิดาก็ทรงให้พระราชโอรส
เหล่านั้นซึ่งเจริญวัยแล้ว ได้ทรงศึกษาศิลปศาสตร์ทุกชนิด.
ต่อมาวันหนึ่ง พรานไพรผู้อยู่ในเมืองของพระเจ้ารามะคนหนึ่ง
เที่ยวแสวงหาแก้วอยู่ที่ภูเขา เห็นพระราชาแล้ว จำได้ จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าจำพระองค์ได้. ทีนั้น พระราชาจึงตรัส
ถามความเป็นไปทุกประการ. และในขณะนั้นนั่นอาทิผิด อักขระเอง พวกเด็กทั้งหลาย
เหล่านั้นก็พากันมา. พรานไพรเห็นพวกเขาแล้ว ทูลถามว่า เด็กเหล่านี้
เป็นใคร. เมื่อพระราชาอาทิผิด สระตรัสว่า ลูกของเราเอง เขาจึงทูลถามถึงวงศ์สกุล
๑๑/๑๗๗/๕๖๐

ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อมกระทำอาทิผิด สระตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบ
ด้วยท่านเป็นอันขาด ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้
เดียว ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว.
อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้
ว่าพระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ
จึงยังโกรธอยู่เล่า.
[๖๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็น
อยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบอาทิผิด อักขระ
สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ที่ไหน
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ แล้วผู้นั้นเป็น
ผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการ
โกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล
ผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอัน
บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ
แล้วเป็นผู้มีสติสงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อม
ประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่
ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษา
ประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและ
ของบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดใน
ธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา
ดังนี้.
[๖๓๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเจ้าอย่างนี้แล้ว อักโกสกภาร-
ทาวชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
๒๕/๖๓๓/๒๐๓

รำคาญด้วยเท้าเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺ-
ญิตา ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร คือเคี้ยวกินเนื้อหมีว่าเป็นเนื้อสุกร
บริโภคโภชนะอันเป็นอกัปปิยะว่าเป็นโภชนะอันเป็นกัปปิยะ บริโภคใน
เวลาวิกาลด้วยสำคัญว่าเป็นกาล ดื่มน้ำที่เป็นอกัปปิยะ ว่าเป็นน้ำกัปปิยะ นี้
ชื่อว่าความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร. บทว่า กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญิตา
ความสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร คือเคี้ยวกินเนื้อสุกรว่าเป็นเนื้อหมี เคี้ยว
กินเนื้อมฤคว่าเป็นเนื้อเสือเหลือง บริโภคโภชนะที่เป็นกัปปิยะว่าเป็น
โภชนะที่เป็นอกัปปิยะ บริโภคในกาลสำคัญว่าเป็นในเวลาวิกาล ดื่มน้ำ
ที่เป็นกัปปิยะว่าเป็นอกัปปิยะ นี้ชื่อว่าสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร. บทว่า
อวชฺเช วชฺชสญฺญิตา คือ ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ. บทว่า
วชฺเช วชฺชสญฺญิตา คือ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่าไม่มีโทษ. บทว่า
กุกฺกุจฺจายนา ความรำคาญ คืออาการแห่งความรำคาญ. บทว่า กุกฺกุจฺ-
จายิตตฺตํอาทิผิด กิริยาที่รำคาญ คือความเป็นสิ่งที่น่ารำคาญ. บทว่า เจตโส
วิปฺปฏิสาโร ความเดือดร้อนจิต คือจิตผิดรูปจิตพล่าน. บทว่า มโน-
วิเลโข คือ ความกลุ้มใจ. บทว่า กตตฺตา จ อกตตฺตา จ เพราะทำและ
เพราะไม่ทำ คือเพราะทำกายทุจริตเป็นต้น และเพราะไม่ทำกายสุจริตเป็น
ต้น. บทว่า กตํ เม กายทุจฺจริตํ เราทำกายทุจริต คือเราทำความ
ประพฤติทุจริตทางกาย เพราะความเน่าของกิเลสทางกาย. บทว่า อกตํ
เม กายสุจริตํ เราไม่ทำกายสุจริต คือเราไม่ทำความประพฤติสุจริตทางกาย.
แม้ในวจีทุจริต และวจีสุจริตเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า จิตฺตสฺส แห่งจิต คือไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล. บทว่า
อุทฺธจฺจํ ฟุ้งซ่าน. บทว่า อวูปสโม คือ ไม่สงบ. บทว่า เจตโส วิกฺเขโป
๖๖/๔๔๑/๗๘

ทำให้อันตรธานไป. สัตว์เล็ก ๆ ทั้งหลาย กัดกิน (ครรภ์ ทำให้อันตรธาน
ไป). แต่เมื่อแพทย์ประกอบเภสัช เพื่อกำจัดลมและพวกสัตว์เล็กนั้นแล้ว
ครรภ์พึงตั้งอาทิผิด อักขระอยู่ได้. ภิกษุนั้น ไม่ได้ปรุงเภสัชขนานนั้น ได้ให้เภสัชที่ร้ายแรง
ขนานอื่น. นางได้ตายไป เพราะเภสัชขนานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรง
บัญญัติทุกกฏไว้ เพราะภิกษุปรุงเภสัช. แม้ในเรื่องที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
[ภิกษุไม่ควรทำยาแก่ชนอื่นแต่ควรทำให้สหธรรมิกทั้ง ๕]
เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่ควรทำเภสัชแก่ชนอื่นผู้มาแล้ว ๆ, เมื่อทำ ต้อง
ทุกกฏ. แต่ควรทำให้แก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา
สามเณร สามเณรี. จริงอยู่ สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั้นเป็นผู้มีศีล ศรัทธา
และปัญญาเสมอกัน ทั้งประกอบในไตรสิกขาด้วย ภิกษุจะไม่ทำเภสัชให้ย่อม
ไม่ได้, และเมื่อจะทำ ถ้าสิ่งของ ๆ สหธรรมิกเหล่านั้นมีอยู่, พึงถือเอาสิ่ง
ของ ๆ สหธรรมิกเหล่านั้น ปรุงให้. ถ้าไม่มี, ควรเอาของ ๆ ตนทำให้ ถ้า
แม้ของ ๆ ตนก็ไม่มี พึงแสวงหาด้วยภิกขาจารวัตร หรือจากที่แห่งญาติและ
คนปวารณา (ของตน). เมื่อไม่ได้ ควรนำสิ่งของมาทำให้ แม้ด้วยการไม่ทำ
วิญญัติ (คือขอในที่ ๆ เขาไม่ได้ทำปวารณาไว้) เพื่อประโยชน์แก่คนไข้.
ควรทำ ยาให้แก่คนนี้ ๕ จำพวก แม้อื่นอีก คือ มารดา ๑ บิดา ๑ คนบำรุง
มารดาบิดานั้น ๑ ไวยาวัจกรอาทิผิด ของตน ๑ คนปัณฑุปลาส ๑. คนผู้ที่ชื่อว่าปัณฑุ-
ปลาส ได้แก่ คนผู้เพ่งบรรพชา ยังอยู่ในวิหารตลอดเวลาที่ยังตระเตรียมบาตร
และจีวร. บรรดาชน ๕ จำพวกเหล่านั้น ถ้ามารดาและบิดาเป็นใหญ่ ไม่หวัง
ตอบแทนไซร้, จะไม่ทำให้ก็ดีควร. แต่ถ้าท่านทั้ง ๒ ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
ยังหวังตอบแทนอยู่, จะไม่ทำ ไม่ควร. เมื่อท่านทั้ง ๒ หวังเภสัช ควรให้
เภสัช. เมื่อท่านทั้ง ๒ ไม่รู้วิธีประกอบยาควรประกอบยาให้. ควรแสวงหา
๒/๒๒๖/๔๓๑
๘. ธรรมเทวปุตตจริยา
ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทวบุตร
[๑๘] อีกเรื่องหนึ่ง ในกาลเมื่อเราเป็นเทพบุตร
ชื่อว่าธัมโม มีอานุภาพมาก มีฤทธิ์มาก บริวาร
มากเป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลกทั้งปวง เราชัก-
ชวนให้มหาชนสมาทานกุศลกรรมบถ ๑๐ ประ-
การ เที่ยวไปยังบ้านและนิคม มีมิตรสหาย มี
บริวารชน ในกาลนั้น เทพบุตรลามก เป็นผู้
ตระหนี่ แสดงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
แม้เทพบุตรนั้นก็เที่ยวไปในแผ่นดินนี้ มีมิตร
สหาย มีบริวารชน เราทั้งสอง คือ ธรรมวาที
เทพบุตรและอธรรมวาทีเทพบุตร เป็นข้าศึก
แก่กัน เราทั้งสองนั่งรถสวนทางกันมา ชนรถ
ของกันและกันที่แอกรถ การที่ทะเลาะอาทิผิด วิวาทอัน
พึงกลัวย่อมเป็นไปแก่เทพบุตรทั้งสองผู้ประ-
กอบด้วยกัลยาณธรรมและบาปธรรม มหา
สงครามปรากฏแล้ว เพื่อต้องการจะให้กันและ
กันหลีกทาง ถ้าเราพึงโกรธเคืองอธรรมเทพ-
๗๔/๑๘/๓๓๐
ด้วยการถึงพร้อมแห่งการกระทำ ผู้มีวาทะที่เปล่งอย่างถูกต้อง ผู้ประเสริฐ
กว่าพวกนักพูด เป็นมหากวี ผู้เป็นเครื่องประดับวงศ์ แห่งพวกชาวมหาวิหาร
ผู้เป็นเถระดวงประทีปแห่งเถรวงศ์ ผู้มีความรู้ที่ตั้งมั่นดีแล้ว ในอุตตริมนุสส-
ธรรม ที่ประดับประดาด้วยคุณต่างด้วยอภิญญาหกเป็นต้น มีปัญญาเครื่อง
แตกฉานเฉพาะที่แตกฉานแล้วเป็นบริวาร ผู้มีความรู้หมดจดกว้างขวาง
ผู้มีนามไธยอันพวกครูถือเอาแล้วว่า พุทธโฆษะ ได้อาทิผิด อักขระกระทำ (แต่ง) ไว้แล้ว.
แม้พระนามว่า พุทธะ ของพระ-
พุทธเจ้า ผู้มีพระหฤทัยสะอาด ผู้คงที่
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งอาทิผิด อาณัติกะ-
ใหญ่ ยังเป็นไปในโลกอยู่ตราบใด ขอ
ปปัญจสูทนีนี้ แสดงนัย แห่งอาทิผิด อักขระความ หมดจด
แห่งความเห็น ของพวกกุลบุตรผู้แสวงหา
คุณ เครื่องรื้อถอนไปจากโลก จงดำรง
อยู่ในโลกตราบนั้น.
ขออรรถกถาชื่อปปัญจสูทนีนี้ เข้า
ถึงสถานอันบริสุทธิ์ปราศจากอันตราย ขอ
ความดำริทั้งหลายอันอาศัยธรรมของเหล่า
สัตว์ จงสำเร็จอย่างนั้น เทอญ.
จบ อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี
๒๓/๘๖๕/๕๓๔

อรรถกถาติรัจฉานคตวัตถุกถา
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า นาคโยนิยา อฏฺฏิยติ นี้ ดังนี้:-
นาคนั้น ในประวัติกาล ย่อมได้เสวยอิสริยสมบัติเช่นกับเทพสมบัติ
ด้วยกุศลวิบากแม้โดยแท้. ถึงกระนั้น สรีระแห่งนาค ผู้ปฏิสนธิด้วยอกุศล
วิบาก มีปกติเที่ยวไปในน้ำ มีกบเป็นอาหารย่อมมีปรากฏ ด้วยการเสพเมถุน
กับนางนาคชาติของตน คือมีชาติเสมอกัน และด้วยการวางใจหยั่งลงสู่ความหลับ
เพราะเหตุนั้น นาคนั้นจึงระอาด้วยกำเนิดนาคนั้น.
บทว่า หรายติ ได้แก่ ย่อมละอาย.
บทว่า ชิคุจฺฉติอาทิผิด อักขระ คือ ย่อมเกลียดชังอัตภาพ
หลายบทว่า ตสฺส ภิกฺขุโน นิกฺขนฺเต มีความว่า เมื่อภิกษุนั้น
ออกไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ในเวลาที่ภิกษุนั้นออกไป.
ข้อว่า วิสฺสฏฺโฐ นิทฺทํ โอกฺกมิ มีความว่า เมื่อภิกษุนั้นยัง
ไม่ออก นาคนั้น ไม่ปล่อยสติหลับอยู่ด้วยอำนาจแห่งความหลับอย่างลิงนั่นแล
เพราะกลัวแต่เสียงร้อง ครั้นภิกษุนั้นออกไปแล้ว จึงปล่อยสติ วางใจ คือ
หมดความระแวง ดำเนินอาทิผิด อักขระไปสู่ความหลับอย่างเต็มที่.
สองบทว่า วิสฺสรมกาสิ มีความว่า ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจความกลัว
ละสมณสัญญาเสีย ได้กระทำเสียงดังผิดรูป.
สองบทว่า ตุมฺเห ขฺวตฺถ ตัดบทว่า ตุมฺเห โข อตฺถ บทนั้น
ท่านมิได้ทำการลบ อ อักษรกล่าวไว้. ความสังเขปในคำนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ
ดังนี้ว่า ท่านทั้งหลายแล เป็นนาค ชื่อเป็นผู้มีธรรมไม่งอกงาม คือ ไม่เป็น
๖/๑๒๗/๓๒๔

แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่
ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่น
เพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่
แยบคาย.
[๔๑๓] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการไฟ แสวงหาไฟ
จึงเที่ยวเสาะหาไฟ เอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป ถ้าแม้ทำความหวัง
แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ ถ้าแม้
ทำความไม่หวังแล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกันไป เขาก็ไม่สามารถจะ
ได้ไฟ ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว เอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ
สีกันไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวัง
ก็มิใช่ แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ
นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะได้ไฟโดยวิธีไม่แยบคาย
ฉันใด ดูอาทิผิด อักขระก่อนภูมิชะอาทิผิด สระ ฉันนั้น เหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวก
หนึ่งที่มีทิฐิผิด ฯล ฯ มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติ
พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวัง
ก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่น เพราะเหตุไร
ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย
ว่าด้วยการบรรลุผล
[๔๑๔] ดูก่อนภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มี
ทิฐิชอบ มีสังกัปปะชอบ มีวาจาชอบ มีกัมมันตะชอบ มีอาชีวะชอบ มี
วายามะชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหม-
จรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์
๒๓/๔๑๓/๑๐๕

หลาย เราอนุญาต ให้ดื่มอาทิผิด น้ำเจือคูถ ต่อมา ภิกษุทั้งหลายคิดสงสัยว่า น้ำเจือคูถ
นั้นจะไม่ต้องรับประเคน หรือต้องรับประเคน จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
คูถที่ภิกษุหยิบไว้ตอนกำลังถ่าย นั่นแหละเป็นอันประเคนแล้ว ไม่ต้องรับ
ประเคนอีก.
ภิกษุอาพาธด้วยโรคต่าง ๆ
[ ๔๔] ก็โดยสมัยนั่นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธถูกยาแฝด ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำที่เขาละลายจากดินรอยไถซึ่งติดผาล.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นพรรดึก ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มน้ำด่างอามิส.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผอมเหลือง ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาผลสมอดองน้ำมูตรโค.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคผิวหนังภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทำการลูบไล้ด้วยของหอม.
สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งมีกายกอปรด้วยโทษมาก ภิกษุทั้งหลายกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดื่มยาประจุถ่าย ภิกษุนั้นมีความอาทิผิด อักขระต้องการน้ำข้าวใส
๗/๔๔/๗๔

เหมือนกัน จักละทิ้งร่างกายนี้ ซึ่งมีช่องเก้าช่องหลั่งไหลออก
เป็นนิจไปเสีย เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไปฉะนั้น.
บุรุษเดินไปกับพวกโจร ถือห่อของไปด้วย เห็นภัยที่จะ
เกิดจาการตัดห่อของ จึงทิ้งพวกโจรไป แม้ฉันใด กายนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เสมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเสีย
เพราะกลัวแต่การตัดกุศลให้ขาด.
สุเมธบัณฑิต คิดเนื้อความอันประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมา
ชนิดต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว สละกองโภคทรัพย์นับอาทิผิด อักขระไม่ถ้วนในเรือนของตน
แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในหนหลัง ให้มหาทาน ละวัตถุกาม และกิเลสกามทั้งหลาย แล้ว
ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์
สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาและที่จงกรมใกล้อาศรมนั้น เพื่อจะละโทษ
คือนิวรณ์ ๕ และเพื่อจะนำมาซึ่งพละกล่าวคืออภิญญาอันประกอบด้วยคุณ
อันเป็นเหตุ ๘ ประการ ซึ่งท่านกล่าวได้โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตตั้งมั่น
แล้วอย่างนี้ ดังนี้ จึงละทิ้งผ้าสาฏกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ ไว้ใน
อาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ
บวชเป็นฤๅษี. ท่านบวชอย่างนี้แล้ว ละทิ้งบรรณศาลานั้นอันเกลื่อนกล่น
ด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปยังโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ
เลิกละธัญญวิกัติ ข้าวชนิดต่าง ๆ ทุกชนิด หันมาบริโภคผลไม้ป่า เริ่ม
ตั้งอาทิผิด ความเพียรด้วยอำนาจการนั่ง การยืน และการจงกรม ภายใน ๗ วัน
นั่นเอง ก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ท่านได้บรรลุอภิญญาพละ
ตามที่ปรารถนา ด้วยประการอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
๗๐/๑/๒๐

เสียแล้ว เหตุกายนี้ผูกด้วยใยยางคือตัณหา ที่พระอริยทั้งหลายคายอาทิผิด อักขระแล้ว
เพราะตัณหาก่อให้เกิดตามพระบาลีอย่างนี้ว่า ตัณหาทำคนให้เกิด จิตของคน
นั้น ย่อมแล่นไป. อนึ่ง สัตว์เล็ก ๆ มีประการต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อม
เกิด ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. นอนป่วย ย่อมตายตกไปในจอมปลวกนั้นนั่นเอง
ดังนั้นจอมปลวกนั้น จึงเป็นเรือนเกิด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็น
สุสานของสัตว์เล็กๆ เหล่านั้นฉันใด กายแม้ของกษัตริย์มหาศาล เป็นต้น ก็ฉัน
นั้น เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว หนังอาทิผิด เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่ออาทิผิด อักขระในกระดูก มิได้คิด
ว่า กายนี้ถูกคุ้มครองรักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว เป็นกายของผู้มีอานุภาพ
ใหญ่ รวมความว่า หมู่หนอนโดยการนับตระกูลมีประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตระกูล
ย่อมเกิด ย่อมถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนกระสับกระส่าย เพราะความป่วยไข้
ตายตกคลักอยู่ในกายนี้เอง เหตุนั้น จึงนับได้ว่าเป็นจอมปลวก เพราะ
เป็นเรือนคลอดอาทิผิด อักขระ เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า วัมมิกะนี้เป็น
ชื่อของกายนี้ ที่เกิดจากมหาภูตทั้ง ๔.
บทว่า มาตาเปติกสมฺภวสฺส ความว่า ที่เกิดจากการรวมตัวของ สุกกา
ซึ่งเกิดจากมารดาบิดา ที่ชื่อว่า มาตาเปติกะ. บทว่า โอทน กมฺมาสูปจยสฺส
ความว่า ก่อเติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
อนิจฺจุจฺฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทฺธํสนธมฺมสฺส ดังต่อไปนี้ กายนี้ชื่อว่า
มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะอรรถาว่า มีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่ามีการฉาบ
ทาเป็นธรรมดา เพราะฉาบทาด้วยหนังบางเพื่อประโยชน์แก่การกำจัดกลิ่นเหม็น
ชื่อว่า มีการนวดฟั้นเป็นธรรมดา เพราะมีการนวดฟั้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อประ-
โยชน์แก่การบรรเทาอาทิผิด สระ ความเจ็บป่วยทางอวัยวะน้อยใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
มีการประคบประหงมเป็นธรรมดา โดยการหยอดยาตาและบีบเป็นต้น เพื่อความ
๑๘/๒๙๑/๓๔๐