วันศุกร์, เมษายน 09, 2564

Abai

 
เปรตวิสัย ๑ มนุษย์ ๑ เทวดา ๑ ดูก่อนสารีบุตร เรารู้นรก เหตุที่สัตว์ไป
สู่นรก และทางปฏิบัติให้สัตว์ไปสู่นรก เรารู้ถึงผู้ปฏิบัติตายไปแล้ว จะต้อง
เข้าถึงอบายอาทิผิด อักขระ ทุคติ วินิบาต นรกด้วย. ก็ญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้
ข้อว่า เป็นญาณจริงแต่แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดพลาดด้วยความ
เป็นไปแห่งอาการวิปริตในวิสัยนั้น ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต
เพราะตรัสรู้ความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง การประกาศความต่างกัน มีความเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลสน้อย
และอาทิผิด สระธุลีคือกิเลสมากเป็นต้น ด้วยการตรัสรู้ถึงความขาดแคลน แห่งโยคะมีศรัทธา
เป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไปแล้วโดยอาการ ๕๐ นั้นเป็นพระปรีชากำหนด
รู้ถึงความหย่อนและยิ่งของอินทรีย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. สมดังที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มี
ธุลีคือกิเลสมาก ดังนี้.
พึงทราบความพิสดารต่อไปนี้. อัธยาศัยเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลาย
โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลนี้มีธุลีคือกิเลสน้อย บุคคลนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ บุคคลนี้
เป็นอุจเฉททิฏฐิ บุคคลนี้ตั้งอยู่ในขันติอันเป็นอนุโลม (ผ่อนผัน) บุคคลนี้
ตั้งอยู่ในยถาภูตญาณ (กำหนดรู้ตามความเป็นจริง) บุคคลนี้เป็นกามาสยะ
(มีอัธยาศัยไปในกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัยไปในเนกขัมมะเป็นต้น บุคคลนี้
เป็นเนกขัมมาสยะ (มีอัธยาศัยมุ่งไปในการออกจากกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัย
ไปในกามเป็นต้น และโดยนัยมีอาทิว่า กามราคะของบุคคลนี้จัดมาก แต่ไม่
มีปฏิฆะ (ความคับแค้น) เป็นต้น ปฏิฆะของบุคคลนี้แรงมาก แต่ไม่มีกามราคะ
เป็นต้น บุญญาภิสังขาร (สภาพตกแต่งบุญ) ของบุคคลนี้ยิ่ง อปุญญาภิสังขาร
(สภาพตกแต่งบาป) อเนญชาภิสังขาร (สภาพตกแต่งความไม่หวั่นไหว) ไม่ยิ่ง
 
๔๕/๒๑๖/๒๔๘

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก