วันจันทร์, เมษายน 12, 2564

Nap Mai Thuan

 
เหมือนกัน จักละทิ้งร่างกายนี้ ซึ่งมีช่องเก้าช่องหลั่งไหลออก
เป็นนิจไปเสีย เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไปฉะนั้น.
บุรุษเดินไปกับพวกโจร ถือห่อของไปด้วย เห็นภัยที่จะ
เกิดจาการตัดห่อของ จึงทิ้งพวกโจรไป แม้ฉันใด กายนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เสมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเสีย
เพราะกลัวแต่การตัดกุศลให้ขาด.
สุเมธบัณฑิต คิดเนื้อความอันประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมา
ชนิดต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว สละกองโภคทรัพย์นับอาทิผิด อักขระไม่ถ้วนในเรือนของตน
แก่เหล่าชนมีคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น ตามนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในหนหลัง ให้มหาทาน ละวัตถุกาม และกิเลสกามทั้งหลาย แล้ว
ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์
สร้างอาศรม สร้างบรรณศาลาและที่จงกรมใกล้อาศรมนั้น เพื่อจะละโทษ
คือนิวรณ์ ๕ และเพื่อจะนำมาซึ่งพละกล่าวคืออภิญญาอันประกอบด้วยคุณ
อันเป็นเหตุ ๘ ประการ ซึ่งท่านกล่าวได้โดยนัยมีอาทิว่า เมื่อจิตตั้งมั่น
แล้วอย่างนี้ ดังนี้ จึงละทิ้งผ้าสาฏกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ ไว้ใน
อาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ
บวชเป็นฤๅษี. ท่านบวชอย่างนี้แล้ว ละทิ้งบรรณศาลานั้นอันเกลื่อนกล่น
ด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปยังโคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ
เลิกละธัญญวิกัติ ข้าวชนิดต่าง ๆ ทุกชนิด หันมาบริโภคผลไม้ป่า เริ่ม
ตั้งอาทิผิด ความเพียรด้วยอำนาจการนั่ง การยืน และการจงกรม ภายใน ๗ วัน
นั่นเอง ก็ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ท่านได้บรรลุอภิญญาพละ
ตามที่ปรารถนา ด้วยประการอย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
 
๗๐/๑/๒๐

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก