วันอาทิตย์, เมษายน 04, 2564

Nang

 
เมื่อภิกษุค้นหาต้นเหตุของอกุศลวิตกทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้ ก็ย่อม
ละได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงการณะ (เหตุ) แม้นี้ว่า อันภิกษุผู้ดำรง
อยู่ในข้อทำลายมูลเหตุของอกุศลวิตกนี้แล้ว ก็ยังไม่อาจเพื่อข่มวิตกนั้นได้ ก็พึง
ข่มอย่างนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ ภิกฺขเว เป็นอาทิ แปลว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานของวิตกดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ทนฺเตภิ ทนฺตมาธาย ได้แก่ พึงกดฟันบนลงที่ฟันข้างล่าง.
บทว่า เจตสา จิตฺตํ ได้แก่ พึงป้องกันอกุศลจิต ด้วยกุศลจิต.
บทว่า พลวา ปุริโส เป็นต้น ความว่า เปรียบเหมือนบุรุษผู้
สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าแล้วบีบ กด เค้น
ที่ศีรษะ หรือที่ก้านคอไว้ให้แน่น พึงกระทำบุรุษนั้นให้เร่าร้อน ให้ลำบาก
ให้สยบ มีความตายเป็นที่สุด ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พึงเป็น
นักมวยปล้ำซึ่งเป็นคู่ต่อสู้กับอกุศลวิตกทั้งหลายว่า พวกเจ้าเป็นอะไร เราเป็น
อะไร ดังนี้ ครั้นครอบงำแล้ว พึงประคองความเพียรใหญ่อย่างนี้ว่า
กามํ ตโจ นหารู จ อฏฺฐิ จ อวสุสฺสตุ
อวสฺสิสฺสตุ เม สรีเร สพฺพนฺตํ มํสโลหิตํ
แปลว่า เนื้อและเลือดทั้งหมดใน
ร่างกายของเรานี้จะเหือดแห้งไป เหลือแต่
หนังอาทิผิด สระเอ็นกระดูก ก็ตามที.
เธอก็พึงข่มอกุศลวิตกทั้งหลายได้. เมื่อจะแสดงอย่างนี้ จึงตรัสคำอุปมาอัน
แสดงอรรถะนี้ว่า ยโต จ โข ภิกฺขเว เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุอาศัยนิมิตใด แล้วมนสิการนิมิตใดอยู่ เป็นต้น. ข้อนี้ ชื่อว่ามริยาทภาชนีย์
 
๑๘/๒๖๒/๒๕๑

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก